วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

วัฒนธรรมการกินของชาวญี่ปุ่น


ชาวญี่ปุ่นไม่ได้โปรดปรานการทานข้าวสวยอย่างเดียว แต่ยังชื่นชอบรับประทานอาหารจำพวกเส้น เช่น เส้นราเม็ง เส้นโซบะอีกด้วย และเวลาทานอาหารประเภทนี้คนญี่ปุ่นมีธรรมเนียมการซดให้เกิดเสียงดัง ซึ่งไม่ผิดหลักมารยาทบนโต๊ะอาหารแต่อย่างใด โดยเฉพาะเวลาทานเส้นโซบะแล้ว การทานเสียงดังๆ ถือเป็นเรื่องปกติ ผู้ชายชาวญี่ปุ่นทุกคนจะทานเสียงดัง



        นอกจากนี้ เวลาทานซุปมิโซะชิรุ หรืออาหารจำพวกซุป ชาวญี่ปุ่นมักจะยกถ้วยซด ต่างจากคนไทยที่จะใช้ช้อนตัก ซึ่งการยกจากถ้วยนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดมารยาทแต่อย่างใด


        อาหารเช้ายอดนิยมที่แทบทุกบ้านจะทานก็คือ นัตโตะ(ถั่วเน่า) และไข่ดิบ คนไทยบางส่วนจะเชื่อว่าการทานของดิบๆท้องไส้จะไม่ดี แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการทานของดิบ จำพวกซาซิมิ(ปลาดิบ) ที่เมืองไทยอาจจะทานผักโดยนำไปลวกก่อน แต่ที่ญี่ปุ่นเรามักทานสดๆ


        เพราะคนญี่ปุ่นนิยมทานของสด ฉะนั้นจึงต้องระวังเรื่องสุขอนามัยเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้อาหารบูดเสีย คนญี่ปุ่นมักจะใช้แร็ป และซิบล็อคที่มีฝาปิดสนิทเก็บอาหาร ที่เมืองไทยอาจจะไม่เคยได้ใช้ แต่ถ้ามาอยู่ญี่ปุ่นแล้ว ก็ขอให้เก็บอาหารเข้าตู้เย็น หรือช่องแข็งโดยใส่กล่องซิบล็อค ห่อด้วยแร็ปเสียก่อน ความสดจึงจะอยู่ได้นาน ขอให้ระวังไว้ว่าคนญี่ปุ่นค่อนข้างเข้มงวดกับเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยกว่าคนไทย


คนญี่ปุ่นไม่กินทิ้งกินขว้าง เวลารับประทานอาหาร ต้องทานให้หมด ไม่เหลือ ที่ญี่ปุ่นการทานอาหารหมดจานถือเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะข้าว หากกินทิ้งกินขว้าง แม้จะเหลือเพียงข้าวแค่เม็ดเดียว ก็อาจจะถูกตำหนิได้ว่าควรจะนึกถึงชาวนา ที่อุตส่าห์ปลูกข้าวให้เรากิน เพราะฉะนั้นเวลาตักข้าว ควรตักแต่พอทาน และควรฝึกเป็นนิสัย


ตบท้ายด้วยชาหลังอาหาร ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มชาหลังอาหาร คนไทยนิยมดื่มชาญี่ปุ่นแบบหวานๆ แต่ถ้ามาญี่ปุ่นแล้วระวังอย่าเผลอใส่น้ำตาลลงไปเด็ดขาด ที่ญี่ปุ่น แม้แต่เด็กตัวเล็ก ๆ ก็ไม่มีใครดื่มชาใส่น้ำตาลกัน คนญี่ปุ่นนิยมดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ดังนั้นเครื่องดื่มประเภทไร้น้ำตาล ชาที่ช่วยให้ร่างกายลดการดูดซึมไขมัน จึงเป็นที่แพร่หลายมากที่ญี่ปุ่น


วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

บัตรไซริวการ์ด (Zairyu Card) คืออะไร


บัตรไซริวการ์ด (Zairyu Card) คือ บัตรแสดงตัวตนของชาวต่างชาติที่มีสิทธิพำนักที่ประเทศญี่ปุ่น หรือหลายคนเรียกบัตรนี้ว่า บัตรต่างด้าว ซึ่งในบัตรจะระบุ
  • ชื่อ-นามสกุล 
  • รูปถ่าย
  • สัญชาติ,ประเทศ
  • วันเดือนปีเกิด
  • สถานภาพใบพำนักว่าเป็นประเภทใหน เช่น ติดตามคู่สมรส ทำงาน ฝึกงาน นักเรียน เป็นต้นค่ะ
  • วันหมดอายุการพำนัก
 ซึ่งบัตรไซริวการ์ดนี้เราต้องถือติดตัวไว้ตลอดนะคะสามารถใช้แทนพาสปอร์ตได้เลย เพราะบัตรนี้จะแสดงให้ทราบว่าเราพำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมายค่ะ

ทำบัตรไซริวการ์ดได้ที่ใหน

เมื่อเรามีใบพำนักญี่ปุ่น (ใบCOE) วันที่เราเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก ผ่านช่องตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ประจำสนามบินในประเทศญี่ปุ่นเจ้าหน้าที่จะทำบัตรไซริวการ์ดให้เราเลย

รายชื่อของสนามบินที่ออกบัตรไซริวการ์ดให้เลย
(สนามบินนาริตะ, สนามบินฮาเนดะ, สนามบินคันไซ, สนามชูบุ,สนามบินชินชิโตะเสะ, สนามบินฮิโรชิม่ะ,สนามบินฟุกุโอกะ) นอกเหนือจากนี้ต้องไปดำเนินเรื่อที่เขตหรืออำเภอที่แจ้งที่อยู่นะคะ  และต้องดำเนินการภายใน 14 วันค่ะหลังจากที่เราดำเนินเข้าประเทศนะคะ

ซึ่งบัตรนี้ทุกคนที่อยู่ที่ญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมายญี่ปุ่นก็มีทุกคนอยู่แล้วนะคะ ไม่ต้องอธิบายมาก แต่เราอยากจะให้มองเห็นภาพกันชัดมากขึ้นกับบัตรนี้เท่านั้นเองค่ะ หากมีเรื่องอะไรดีดีเกี่ยวกับเอกสารระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นควรรู้และทำความรู้จักกันไว้ บริงลัค ก็จะพยายามนำมาเสนอให้อ่านกันเรื่อยๆนะคะ ฝากติดตามเพจของเราด้วยนะคะ หากต้องการคุยกับเจ้าหน้าที่เรื่องเอกสารของคนไทยกับคนญี่ปุ่น สามารถโทรเข้ามาได้ที่


02-187-4009
061-402-7789 (คุณปลา)
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)





วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

การจดทะเบียนสมรสใหม่หลังจากการหย่า ตามกฎหมายไทยและญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างไร

เมื่อหย่าร้างแล้วสามารถจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เลยทันทีหรือไม่หรือต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง วันนี้เราได้นำความรู้เรื่องนี้มา อธิบายให้ทุกคนอ่าน และเข้าใจกันแบบง่ายๆนะคะ



การจดทะเบียนสมรสใหม่ตามกฎหมายไทย ฝ่ายชายสามารถสมรสใหม่ได้ทันทีหลังจากจดทะเบียนหย่า ส่วนฝ่ายหญิงกลับไม่สามารถทำได้ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453 ระบุว่า "หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน" หรือพูดง่ายๆคือต้องหย่าผ่านไปแล้ว 310 วันฝ่ายหญิงถึงจะสรสใหม่ได้นั่นเอง  เหตุผลก็คือ หากฝ่ายหญิงมีการตั้งครรภ์ในระหว่างนี้ทำให้ยากต่อการจัดการกับบุตรและเรื่องมรดก  ดังนั้นกฎหมายจึงได้ออกข้อกำหนดไว้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาและยุ่งยากตามมา จึงให้ฝ่ายหญิงมีการเว้นระยะในการจดทะเบียนสมรสใหม่



แต่!ก็ยังมีข้อยกเว้น ของกฎหมายข้อนี้ให้กับฝ่ายหญิงอยู่ก็คือ หากฝ่ายหญิงต้องการจดทะเบียนสมรสใหม่ทันที สามารถจดทะเบียนสมรสได้ แต่ฝ่ายหญิงต้องมีลัษณะใดลักษณะหนึ่งตามหัวข้อต่อไปนี้ค่ะ

1. ฝ่ายหญิงได้คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
2. ต้องการสมรสกับคู่สมรสคนเดิม
3. มีใบรับรองแพทย์ระบุว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
4. มีคำสั่งจากศาลว่าให้สมรสได้


การจดทะเบียนสมรสใหม่ตามกฎหมาญี่ปุ่น ฝ่ายชายสามารถจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เลยหลังจากการหย่าซึ่งเหมือนกับกฎหมายไทยเลยค่ะ  แต่สำหรับฝ่ายหญิงแล้วก็ยังมีข้อกำหนดอยู่ว่าถ้าจะจดทะเบียนสมรสกับคนใหม่ ต้องหย่าครบ 100 วัน ถึงจะสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายญี่ปุ่นได้นะคะ

   ดังนั้นกรณีที่ ฝ่ายหญิงคนไทย(ผู้ที่เคยจดทะเบียนหย่า) ต้องการจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่นใหม่ได้นั้น ต้องเช็คกฎหมายไทยและญี่ปุ่นควบคู่กันไปด้วย ว่าการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้ง 2 ประเทศเป็นอย่างไรไว้ด้วยนะคะ

หากคุณต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดำเนินเอกสารจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทย-คนญี่ปุ่น สามารถปรึกษาโดยตรงกับเราได้ตามรายละเอียดด้านล่างเลยนะคะ คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลา และจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสของทั้ง 2 ประเทศด้วยค่ะ 


ติดต่อเราได้ที่
02-187-4009
061-402-7789 (คุณปลา)
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)
LINE กรุณาแอดเป็นเพื่อนตามเบอร์โทรศัพท์ได้เลยนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ทำวีซ่าติดตามสามีหรือภรรยาคนไทยที่มีวีซ่าอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

หากใครที่มีคู่สมรสคนไทยที่มีวีซ่าทำงานหรือมีวีซ่าถาวรอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น...แล้วต้องการไปใช้ชีวิตคู่ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยกันนั้น คุณสามารถทำเรื่องขอวีซ่าติดตามคู่สมรสได้ แต่คุณทั้งคู่ต้องจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมายไทยเสียก่อนนะคะ



ก่อนอื่นเลย...ก่อนที่จะดำเนินเรื่องขอวีซ่าติดตาคู่สมรสคนไทยที่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น คุณต้องเช็คคุณสมบัติของคู่สมรสคุณก่อนว่าอยู่ที่ญี่ปุ่นทำอาชีพอะไร มีรายได้เท่าไหร่ สภาพพำนักของคู่สมรสเป็นอย่างไร การเสียภาษี และอื่นๆควบคู่ เพื่อพิจารณาว่าสามารถขอวีซ่าติดตามคู่สมรสได้หรือไม่ ก่อนขอสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามเราก่อนได้ ทาง บริงลัค จะช่วยคุณพิจารณากับคุณไปด้วยกันว่าจะมีโอกาศขอได้หรือไม่
เมื่อเช็คเรียบร้อยแล้วว่ามีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดเรื่องขอวีซ่าติดตามคู่สมรสคนไทย คุณก็สามารถเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อให้คู่สมรสคนไทยที่อยู่ญี่ปุ่นยื่นขออนุมัติใบพำนักให้คุณได้เลยที่ ตม. ใกล้บ้าน ซึ่งการเตรียมเอกสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการพิจารณาใบพำนักกของ ตม. หากคุณต้องการให้ บริงลัค ช่วยดูแลก็สามารถติดต่อเข้ามาได้นะคะ
ใช้ระยะเวลารอผลประมาณ 1-3 เดือน ทาง ตม. ก็จะแจ้งให้ทราบว่าใบพำนักผ่านหรือไม่
ถ้าผ่านแล้ว คู่สมรสที่จะติดตามไปที่ญี่ปุ่นก็ต้องมาขอวีซ่าติดตามคู่สมรส ซึ่งจะขอได้ 1 ปีก่อน และพอครบ 1 ปีก็ยื่นต่อได้เรื่อยๆ ถ้าคู่สมรสที่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมีวีซ่าถาวร ในวันข้างหน้าคุณก็สามารถขอวีซ่าถาวรตามคู่สมรสของคุณได้ อันนี้แล้วแต่การพิจารณาของ ตม. ต่อไปนะคะ
หากใครที่มีสามีหรือภรรยาคนไทยที่มีวีซ่าอยู่ญี่ปุ่น มีโครงการจะไปอยู่ด้วยกันอยากดำเนินเรื่องขอวีซ่าติดตามก็ติดต่อเข้ามาสอบถามได้เลยที่
⇩⇩⇩⇩
02-187-4009 (Office Time 09.00 am. - 05.00 pm. )
061-402-7789 คุณปลา(ภาษาไทย)
061-386-7798 คุณอาร์ (ภาษาไทย)
087-687-8719 คุณโอตานิ(日本語)

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

เมื่อดำเนินเรื่องรับรองบุตร ลูกมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง



   ก่อนหน้านี้เราเคยอธิบายเรื่องการรับรองบุตรของคนญี่ปุ่นมาแล้ว ว่าเงื่อนไขอย่างไรบ้าง  วันนี้จึงอยากจะมาอธิบายเรื่องสิทธิประโยชน์ของบุตรที่ได้รับการรับรองบุตรจากบิดาคนญี่ปุ่นกัน ดังนี้นะคะ


1.บุตรคนนี้จะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาชาวญี่ปุ่นร่วมกับมารดาชาวไทยโดยผลของกฎหมายทันทีอันมีผลทำให้บิดาและมารดามีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน



2. เมื่อบุตรได้รับการรับรองบุตรแล้วสามารถขอสัญชาติเป็นคนญี่ปุ่นตามบิดาชาวญี่ปุ่นได้ และบุตรสามารถพำพักในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดไปได้


3. บุตรจะได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างๆจากรัฐบาล ของญี่ปุ่นได้  กรณีที่บุตรพำนักในประเทศญี่ปุ่น แต่ถ้าหากบุตรไม่ได้พำนักในประเทศญีปุ่นก็ต้องมาดูเงื่อนไขอื่นๆประกอบคู่กันไปด้วยอีกทีนะคะ

ตอนนี้ใครที่มีบิดาของลูกเป็นชาวญี่ปุ่นแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และยังไม่ได้ดำเนินเรื่องรับรองบุตรให้ลูก สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาปรึกษากับเราได้ที่

02-187-4009
061-402-7789 (คุณปลา)
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)



การเปลี่ยน"ใบขับขี่ไทย"เป็น"ใบขับขี่ญี่ปุ่น"

    


     ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวกมากๆค่ะ  และคนที่อยู่ในชุมชนเมืองมักจะใช้การคมนาคมสาธารณะมากกว่าการขับรถยนต์ส่วนตัว เพราะหาที่จอดรถค่อนข้างลำบาก และที่จอดรถก็ต้องเช่าที่จอดด้วยนะคะ แต่สำหรับผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วการเดินทางที่สะดวกที่สุดก็คงจะต้องเป็นการขับขี่รถยนต์ส่วนตัว หลายท่านเข้าประเทศญี่ปุ่นไปแล้วต้องการทำใบขับขี่ญี่ปุ่น อยากทราบขั้นตอน ซึ่งวันนี้ เรานำประสบการณ์ของคนไทยหลายๆคนปรึกษากับเรา และจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทำยากมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนะคะว่ามีความรู้กับกฎหมายการจราจรญี่ปุ่นมากน้อยแค่ใหนค่ะ บริงลัค ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่กำลังจะสอบใบขับขี่ญี่ปุ่น ให้กับทุกๆท่านด้วย สู้ๆนะคะ


ขั้นตอนการเปลี่ยน "ใบขับขี่ไทย"เป็น"ใบขับขี่ญี่ปุ่น" 




1. ขั้นตอนแรกต้องสำรวจตนเองก่อนว่าก่อนไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นตนเองมีใบขับขี่ไทยแล้วหรือยัง และใบขับขี่ไทย  นับตั้งแต่วันที่ได้ใบขับขี่ไทย ก่อนจะเดินทางไปญี่ปุ่น ใบขับขี่จะต้องมีอายุการใช้งานที่เมืองไทย 3 เดือนขึ้นไป ถึงจะสามารถไปเปลี่ยนทำใบขับขี่ที่ญี่ปุ่นได้นะคะ



2. คัดเอกสารประวัติใบขับขี่ที่เมืองไทย(เป็นภาษาอังกฤษ) เอกสารจะระบุว่าเราทำใบขับขี่ครั้งแรกเมื่อไหร่ และรายละเอียดอื่นๆ  สามารถคัดเอกสารได้ที่กระทรวงคมนาคมขนส่ง ที่จตุจักร ที่อื่นๆต้องโทรเช็คก่อนนะคะว่าสามารถคัดและออกให้ได้มั้ยค่ะ  (หากท่านใดอยู่ที่ญี่ปุ่นต้องการมอบอำนาจให้เราช่วยดำเนินการคัดเอกสารให้แทน สามารถปรึกษาเข้ามาได้ตามรายละเอียดข้างล่างเลยนะคะ)
***หมายเหตุ ก่อนจะคัดเอกสารขอแนะนำให้เช็ครายละเอียดที่ศูนย์ยื่นทำใบขับขี่ที่ญี่ปุ่นก่อนนะคะ ว่ากรณีของคุณจำเป็นต้องใช้เอกสารนี้หรือไม่ค่ะ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายนะคะ



3. นำเอกสารประวัติใบขับขี่ที่เมืองไทยแปลที่ JAF ในญี่ปุ่นสาขาใกล้บ้าน (สหพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น) www.jaf.or.jp / ซึ่งเอกสารจะต้องได้การรับรองจากที่ JAF  ก่อนนะคะ



4. เตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำใบขับขี่ญี่ปุ่นได้ที่ศูนย์สอบใบขับขี่ใกล้บ้าน (เรื่องเอกสารแนะนำให้สอบถามที่ศูนย์สอบก่อนนะคะ จะได้ไปไม่เสียเวลาค่ะ) 

5. วันที่ไปยื่นแนะนำให้พาคนญี่ปุ่นไปด้วย เพราะจะได้ช่วยเป็นล่ามให้ได้ค่ะ ถ้าภาษาญี่ปุ่นคุณยังไม่แข็งแรงนะคะ

6. เมื่อยื่นเอกสารแล้วทางเจ้าหน้าที่จะมีการสัมภาษณ์พื้นฐานทั่วไป ถามเรื่องการขับขี่ สุขภาพ และตรวจวัดสายตาค่ะ



7. ทำข้อสอบความรู้พื้นฐานการขับขี่ เป็นการสอบข้อเขียน 10 ข้อ (มีหลายภาษาให้เลือกแล้วแต่ความถนัดนะคะ)  ซึ่งต้องผ่าน 7ข้อขึ้นไปค่ะถึงจะผ่านไปด่านต่อไปได้



8. เมื่อผ่านสอบข้อเขียนผ่านแล้ว จะเป็นการสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งหลายคนต้องสอบหลายรอบมากๆค่ะ การสอบปฏิบัติมีเกณท์กำหนดว่าต้องผ่าน 70 คะแนนขึ้นไปนะคะ แต่ถ้ายังไม่ผ่านสามารถมาสอบแก้ได้แต่ต้องภายใน 6 เดือนหลังจากที่สอบข้อเขียนผ่านแล้วเท่านั้นนะคะ  



9. เมื่อผ่านการสอบทั้ง 2 อย่างแล้วนั้น จะได้รับการอนุมัติให้ทำใบขับขี่ญี่ปุ่นได้เลยค่ะ เมื่อได้ใบขับขี่ญี่ปุ่นมาแล้วโปรดปฏิบัติตามกฎจราจรของประเทศญี่ปุ่นด้วยนะคะ 

"ข้อมูลนี้เป็นการแนะนำเบื้องต้นนะคะหากผู้ใดจะดำเนินเรื่องเปลี่ยนใบขับขี่ไทยเป็น ใบขับขี่ญี่ปุ่นจริงๆ ขอแนะนำให้ติดต่อที่ขนส่งญี่ปุ่นในเขตพื้นที่ของคุณเรื่องเอกสารให้ละเอียดอีกทีนะคะ เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันค่ะ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นนะคะ"

หากสนใจปรึกษาเรื่องคัดประวัติใบขับขี่รถยนต์ที่กระทรวงคมนาคมขนส่งในประเทศไทยสามารถติดต่อเราเข้ามาได้ที่

02-187-4009
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

5 ลักษณะพิเศษของวีซ่าแต่งงานกับคนญี่ปุ่น

   
       ผู้ที่ถือใบพำนักติดตามคู่สมรส หรือคนไทยจะชอบเรียกกันว่า "วีซ่าแต่งงาน" ซึ่งลักษณะพิเศษของวีซ่าชนิดนี้ค่อนข้างมีสิทธิประโยชน์หลายอย่างสำหรับคู่สมรสคนไทย ซึ่งวันนี้เรามาอธิบายเพิ่มเติมพื่อให้รู้จักวีซ่าประเภทนี้กันมากขึ้นนะคะ


1. สามารถรับสวัสดิการตามสามีคนญี่ปุ่นได้ เหมือนภรรยาคนญี่ปุ่น เช่น รับบำเหน็จบำนาญของสามีได้ ประกันสุขภาพ สวัสดิการที่ทำงานของสามีญี่ปุ่นได้ค่ะ 



2. ในอนาคตเมื่อคุณพำนักอยู่ญี่ปุ่นเป็นระยะเกิน 3 ปีขึ้นไป และกำลังถือวีซ่า 3 ปีอยู่ สามารถที่จะยื่นขอวีซ่าถาวรได้ ซึ่งมีโอกาศได้รับการอนุมัติมากกว่าวีซ่าประเภทอื่นๆค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของคุณเองและคู่สมรสคนญี่ปุ่นด้วยนะคะ



3. หากคุณมีลูกดัวยกันกับคนญี่ปุ่น แต่เกิดเหตุต้องหย่าร้าง หรือคู่สมรสคนญี่ปุ่นเสียชีวิต  คุณมีสิทธิขอพำนักอยู่ต่อที่ญี่ปุ่นได้โดยเปลี่ยนเป็นวีซ่าติดตามลูกคนญี่ปุ่นได้ 



4. หากคุณได้วีซ่าถาวร(เอยู)แล้ว เกิดเหตุต้องหย่าร้างหรือคู่สมรสคนญี่ปุ่นเสียชีวิต คุณสามารถใช้ชีวิตต่อที่ประเทศญี่ปุ่นได้ค่ะโดยวีซ่าของคุณไม่ถูกยกเลิกนะคะ


5.หากคุณมีลูกติดอยู่ที่ประเทศไทย และลูกอายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ สามารถทำวีซ่าติดตามให้ลูกขึ้นมาอยู่กับตนเองได้

       ลักษณะพิเศษต่างๆ 5 ข้อที่กล่าวมานี้  ผู้ที่ถือวีซ่าแต่งงาน มีสิทธิในการใช้สิทธิ์ได้  แต่ทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ และเงื่อนไขต่างๆอีกหลายอย่างมาประกอบกันด้วยนะคะ เช่น บางท่านอยู่ญี่ปุ่นหลายปีแต่ทำไมขอวีซ่าถาวรไม่ผ่านสักที เป็นต้นนะคะ 

       หากใครที่กำลังจะดำเนินเรื่องขอวีซ่าแต่งงานอยู่นั้น อยากปรึกษาขั้นตอนการดำเนินเรื่องกับผู้เชี่ยวชาญก็สามารถติดต่อเข้ามาปรึกษาได้ที่ 
02-187-4009 (OFFICE)
061-386-7798 (คุณอาร์)
061-402-7789 (คุณปลา)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)
Line ID : 999kazu