วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

การจดรับรองบุตรและการขอสัญชาติญี่ปุ่น

     
              
       ผู้หญิงคนไทยกับผู้ชายคนญี่ปุ่นหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องการรับรองบุตรและขอสัญชาติญี่ปุ่นให้ลูก บางท่านอาจจะเข้าใจว่า ก็ลูกเกิดจากผู้ชายญี่ปุ่นอยู่แล้ว ลูกก็เป็นคนญี่ปุ่นและมีสัญชาติญี่ปุ่นตามพ่อได้เลย  

        แต่สำหรับคู่ที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ เช่น ผู้ชายญี่ปุ่นมีภรรยาติดทะเบียนสมรสกับคนอื่นอยู่ จึงไม่สามารถที่จะจดทะเบียนกับผู้หญิงไทยได้อีก หรือบางคู่อาจจะกำลังดำเนินเรื่องจดทะเบียนสมรส แต่ดันคลอดลูกก่อนการดำเนินจดทะเบียนสมรสเสร็จ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตร และการขอสัญชาติญี่ปุ่นให้กับลูก  ซึ่งลูกที่เกิดจากผู้หญิงคนไทยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ชายญี่ปุ่น  เมื่อมารดาคนไทยแจ้งเกิดลูกที่อำเภอไทย ลูกจะได้รับสัญชาติไทยได้ตามกฎหมาย แต่ถ้าต้องการให้ลูกมีบิดาเป็นชาวญี่ปุ่นถูกต้องตามกฎหมาย และต้องการขอสัญชาติญี่ปุ่นด้วยแล้ว จึงจะต้องมีการดำเนินเรื่องรับรองบุตร  และขอสัญชาติญี่ปุ่นให้กับลูก หลังจากดำเนินเรื่องเรียบร้อยแล้ว ลูกจะได้สัญชาติไทย และญี่ปุ่น  



           เมื่อดำเนินเรื่องรับรองบุตรและขอสัญชาติให้กับบุตรแล้ว บุตรมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

1. บุตรคนนี้จะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาชาวญี่ปุ่นร่วมกับมารดาชาวไทยโดยผลของกฎหมายทันทีอันมีผลทำให้บิดาและมารดามีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน

 2.บุตรจะได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างๆจากรัฐบาลญี่ปุ่น (โดยจะได้รับอย่างเต็มที่ ๑๐๐% หากพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น) นอกจากนั้นบุตรจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่นอีกสัญชาติหนึ่งด้วยนะคะ

3. สวัสดิการของบุตรซึ่งบิดาชาวญี่ปุ่น ได้แก่ ระบบสวัสดิการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายรับรองเพื่อช่วยเหลือบุตรของชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะ เช่น สิทธิในการเดินทางตามบิดาชาวญี่ปุ่นเข้าไปพำนักในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลายาวนานในฐานะประชากรชาวญี่ปุ่น สวัสดิการการศึกษา สวัสดิการเรื่องการรักษาพญาบาล ตามกฎหมายสวัสดิการของญี่ปุ่น

4.  เมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นในสังคมญี่ปุ่น และสิทธิที่จะประกอบอาชีพ ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเข้าสู่วัยการทำงาน รวมถึงสิทธิอื่นๆ ที่ประชากรชาวญี่ปุ่นจะได้รับตามกฎหมายสวัสดิการของญี่ปุ่น

          แต่สิทธิต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ส่วนใหญ่กำหนดไว้สำหรับเด็กสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งมีถิ่นที่พำนักหรือมีภูมิลำเนาในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ถ้าเด็กลูกครึ่งญี่ปุ่นนั้นไปพำนักหรือมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศญี่ปุ่น เช่น ไปอยู่ในประเทศไทยแล้วจะต้องดูรายละเอียดของระเบียบ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของระบบสวัสดิการแต่ละประเภทในญี่ปุ่นว่ามีข้อยกเว้นที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือสวัสดิการ เหล่านั้นให้แก่เด็กลูกครึ่งญี่ปุ่นที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นหรือไม่อย่างไรอีกทีนะคะ

สนใจติดต่องานด้านเอกสาร
02-187-4009 ,061-386-7798(คุณอาร์), 087-687-8719 คุณโอตานิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น