วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ขอ VISA ท่องเที่ยวญี่ปุ่น 3 เดือน


⇒การขอวีซ่าท่องเที่ยว 3 เดือน มีหลายคนติดต่อเข้ามาสอบถามเรื่องนี้กันค่อนข้างเยอะมากค่ะ  วันนี้จึงได้โอกาศมาอธิบายเรื่องนี้ให้หลายๆคนเข้าใจกันนะคะ 

             ปัจจุบันนี้ประเทศญี่ปุ่นสามารถให้เข้าออกประเทศได้ 15 วัน อยู่แล้ว  การขอวีซ่าท่องเที่ยว 90 วันจึงเป็นวีซ่าที่ทาง ตม. ญี่ปุ่นพิจารณาออกให้น้อยมาก หลายคนยื่นขอแล้วถูกปฏิเสธ จะยื่นใหม่ก็ต้องรอถึง6 เดือน ถึงจะยื่นขอใหม่ได้ และการยื่นใหม่ก็ไม่รู้ว่าจะผ่านอีกหรือไม่ ทำให้ประวัติการขอวีซ่าญี่ปุ่นของบางคนเสียไปเลย
             ดังนั้นก่อนที่จะยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยว 3 เดือน ผู้ขอต้องมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ มีคนรับรอง เรื่องอายุ รายได้ อาชีพ การงาน และมีปัจจัยหลายๆอย่างมาประกอบกันในการยื่นเรื่องขอ  และเรื่องนี้ทาง ตม. เองก็พิจารณาเป็นเคสบายเคสไปนะคะ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขอวีซ่าชนิดนี้ให้ผ่านการอนุมัติ
            สิ่งที่ผู้ขอต้องคิดคือ คุณจะไปทำอะไรตั้ง 3 เดือน เที่ยวอะไรตั้ง 3 เดือน ไม่มีงานทำเหรอ ที่ทำงานให้ลางานได้ถึง 3 เดือนเลยเหรอ จะไปพักที่ใหนกับใคร ใครดูแลคุณและอีกหลายๆเหตุผลมาประกอบกันนะคะ คิดดีดีก่อนขอวีซ่าท่องเที่ยว 3 เดือนนะคะ เดียวถูกปฏิเสธขึ้นมาจะยุ่งไปอีกในการขอวีซ่าอื่นๆต่อไปค่ะ

               พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเข้าใจใช่มั้ยค่ะว่า วีซ่าท่องเที่ยวญี่ปุ่น 3 เดือนไม่ได้ขอกันง่ายๆเลย และคุณเสี่ยงต่อการถูกปฏิเสธได้ง่ายๆด้วย  บริงลัค ก็จะดูเป็นเคสบายเคสไปเช่นเดียวกันนะคะ ถ้าทำไม่ได้จะแจ้งให้ทราบทันที แต่ถ้าพอช่วยทำให้ได้เราก็จะช่วยอย่างเต็มที่ที่สุดค่ะ แต่จะแจ้งลูกค้าเสมอว่าการขอวีซ่าแต่ละชนิดเราไม่สามารถที่จะการันตีได้เลยว่าคุณจะได้วีซ่าหรือไม่  แต่ บริงลัค จะช่วยแนะนำและหาทางออกให้เสมอค่ะ

สนใจบริการด้านใดสามารถติดต่อเข้ามาปรึกษาพูดคุยกันได้ก่อนนะคะ เรามีคำแนะนำดีดีให้คุณก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำอะไรลงไปได้ค่ะ
↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ ↓ 
02-187-4009
061-402-7789 (คนไทย)
087-687-8719 (คนญี่ปุ่น)

ขอ VISA ติดตามแม่คนไทยที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่นให้ลูก

   

ในกรณีที่ภรรยาคนไทยมีลูกติดและต้องการให้ลูกไปใช้ชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยกันระยะยาว จะทำอย่างไรได้บ้าง?

         อันดับแรกภรรยาคนไทยต้องปรึกษากับสามีคนญี่ปุ่นก่อนว่าอยากจะพาลูกที่เป็นลูกติดภรรยา มาอาศัยอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่น ถ้าสามีคนญี่ปุ่นเห็นด้วยและอนุญาติก็สามารถดำเนินเรื่องขอวีซ่าติดตามแม่ได้ ลูกคนไทยที่สามารถขอวีซ่าติดตามแม่ได้ต้องมีอายุที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ก็มีเหตุหนึ่งที่ว่า เด็กที่อายุ 15ปีขึ้นไปการขอวีซ่าติดตามแม่จะค่อนข้างพิจาณาให้ยาก เพราะทาง ตม.ญี่ปุ่นมองว่าเด็กโตแล้วดูแลตัวเองได้แล้ว ดังนั้นทางที่ดีควรรีบขอให้ลูกตั้งแต่อายุน้อยๆจะดีที่สุด  และพอเด็กเข้าประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เด็กทำให้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อมประเทศญี่ปุ่นได้เร็ว และได้ภาษาเร็ว ถ้าเด็กโตจะมีปัญหาเรื่องปรับตัวเข้ากับเพื่อนที่โรงเรียน และภาษาก็ยากเกินไปสำหรับเขาทำให้เด็กโตบางคนเกิดอาการไม่อยากเข้าสังคมคนญี่ปุ่น และกลัวการพบเจอผู้คนไปเลยก็มี

         VISA ติดตามแม่ แรกๆทาง ตม. จะอนุมัติให้ปีต่อปีก่อน แต่ถ้าอยู่ญี่ปุ่นไปสักระยะก็สามารถขอวีซ่าถาวรได้ และข้อดีของ วีซ่าติดตามแม่อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเด็กบรรลุนิติภาวะแล้วก็ยังใช้วีซ่าติดตามแม่ได้อยู่ วีซ่าไม่ถูกตัดค่ะ

          ดังนั้นใครมีลูกติดอยู่ อยากพาลูกไปอยู่ญี่ปุ่นด้วยกัน ติดต่อมาได้เลยนะคะ

02-187-4009
061-402-7789
087-687-8719

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

การรับบุตรบุญธรรมคนญี่ปุ่น

       


การรับเป็นบุตรบุญธรรมของคนญี่ปุ่นแล้ว สามารถขอวีซ่าบุตรบุญธรรมได้หรือไม่?
              เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยและเข้าใจผิดกันค่ะ ซึ้งปกติแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นจะสามารถออกวีซ่าบุตรบุญธรรมให้กับลูกบุญธรรมที่อายุไม่เกิน 6 ขวบได้ แต่ถ้าอายุเกินนี้แล้วไม่สามารถขอวีซ่านี้ได้นะคะ 
และการที่คนญี่ปุ่นจะรับเด็กไทยอายุที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้ระยะเวลาในการพิจาณาค่อนข้างนาน และผลออกมาไม่รู้ว่าจะผ่านหรือไม่ เพราะหน่วยงานราชการในไทยที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาค่อนข้างละเอียดมาก มีหลายเหตุผล และหลายปัจจัยตามการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ค่ะ
              แต่ในกรณีที่ลูกที่อายุผ่านบรรลุนิติภาวะแล้ว  สามารถที่จะทำเอกสารและยื่นเรื่องขอรับรองบุตรบุญธรรมคนญี่ปุ่นได้เลย เอกสารไม่ยุ่งยาก พอรับรองบุตรบุญธรรมเรียบร้อยแล้วบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อบุญธรรมได้ตามสิทธิ  แต่จะไม่มีสิทธิขอวีซ่าบุตรบุญธรรมหรือวีซ่าติดตามพ่อบุญธรรมได้ค่ะ   จึงอยากจะอธิบายให้ทราบโดยทั่วกันเรื่องการขอวีซ่าบุตรบุญธรรมนะคะ

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
02-187-4009
061-402-7789 (คุณปลา) ปรึกษาภาษาไทย
087-6878719 (คุณโอตานิ) ปรึกษาภาษาญี่ปุ่น 


วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

ต้องการคัดใบหย่าญี่ปุ่น (ติดต่อสามีญี่ปุ่นไม่ได้)

            


          มีภรรยาคนไทยหลายคนที่ทำการหย่าจากประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินเรื่องหย่าที่เมืองไทย เซ็นต์ใบคำร้องหย่าญี่ปุ่นเสร็จก็แยกย้ายกับสามีคนญี่ปุ่นเลย และไม่รู้ว่าสามีเขายื่นใบคำร้องหย่าที่อำเภอหรือยัง ไม่รู้สถาณะภาพว่าตอนนี้ตนเองเป็นยังไงบ้าง บางครั้งก็ทำธุรกรรมต่างๆที่ประเทศไทยก็ยุ่งยาก จะแต่งงานใหม่จดทะเบียนใหม่กับใครก็ไม่ได้ เพราะที่ประเทศไทยยังไม่ดำเนินเรื่องหย่าให้เรียบร้อย มีหลายคนหาทางออกให้ตนเองไม่ได้ไม่รู้จะทำยังไง ก็คงสถาณะภาพตนเองเป็นสมรสอยู่  ดังนั้น
            
           ทางบริงลัคเรามีบริการ ติดต่ออำเภอที่ญี่ปุ่นที่สามีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่ให้ได้ เพื่อติดต่อและขอคัดใบหย่าให้ภรรยาคนไทยเพื่อมาดำเนินเรื่องหย่าที่ไทยให้เรียบร้อย  ถึงแม้จะไม่ได้ติดต่อกับสามีคนญี่ปุ่นแล้วก็ตาม....เราก็สามารถช่วยคุณได้ 

            สามารถติดต่อเพื่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
02-187-4009
061-402-7789
087-687-8719
Line ID : 999kazu



         

ล่ามแปลภาษาไทย-ญี่ปุ่น (สร้างความสัมพันธ์ให้กับคู่สมรส)

           

           บริงลัค เป็นบริษัทที่ดำเนินเรื่องเอกสารจดทะเบียนสมรสคนไทยกับคนญี่ปุ่น และทำวีซ่าคู่สมรส มีประสบการณ์มานานกว่า 20 ปี ซึ่งทำให้เรารู้ว่าปัญหาคู่สมรสระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่น มีปัญหาเยอะแยะมากมาย บางคู่สื่อสารกันเองคุยกันเองได้ แต่บางคู่ยิ่งคุยปัญหายิ่งเกิดขึ้นมากกว่าเดิม บางคู่ทะเลาะกันแล้วก็มีการเลิกกันถึงขั้นหย่าร้างก็มี  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจกัน เรื่องครอบครัวของแต่ละฝ่าย เรื่องภาษาที่แตกต่าง และมีเรื่องราวอีกมากมายที่ทางคู่สมรสมีปัญหากัน และต่างฝ่ายก็ต่างอยากจะอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจความหมายของตนเองอย่างลึกซึ้ง แต่ด้วยอารมณ์ และภาษาก็เป็นสิ่งยากสำหรับตน

          ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดจึงควรมี ล่ามที่มีความสามารถในเรื่องการเชื่อมความสัมพันธ์ ที่สามารถช่วยอธิบายความต้องการของแต่ละฝ่ายให้เข้าใจกันได้ด้วยดี และด้วยภาษาที่มีความชัดเจนและความหมายตรงกับสิ่งที่ต้องการอยากจะสื่อให้กับคู่ของตน ได้รับทราบ  

          งานล่ามแปลภาษาไทย-ญี่ปุ่น เรื่องความสัมพันธ์ของคู่สมรส จึงเป็นอีกงานที่ บริงลัค มองเห็นถึงความสำคัญ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ บริงลัค ต้องคอยดูแลงานนี้เป็นอย่างดี หน้าที่ของ ล่ามที่ดี คือจะต้องทำอย่างไรให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจกันดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ปัญหาใหญ่เราก็จะช่วยเต็มที่ไม่ทิ้งลูกค้านะคะ 

          ใครที่กำลังมองหาล่ามเก่งๆ เรื่องความสัมพันธ์คู่แต่งงานระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นอยู่แล้วหล่ะก็สามารถติดต่อเรามาได้ที่

02-187-4009
061-402-7789
087-687-8719
LINE ID : 999kazu

*** หมายเหตุ ก่อนที่เราจะรับงานล่ามขออนุญาติตรวจสอบเนื้อหาของงานก่อนนะคะ ถ้าหากเป็นการให้เราช่วยโกหก หลอกลวง ด่าทออีกฝ่าย หรือผิดจริยธรรม งานแบบนี้ขออนุญาติไม่รับนะคะ

อัตราค่าล่าม
เริ่มต้นที่ 1,000 บาท           
             

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

เมื่อความสัมพันธ์ถึงขั้นต้องหย่าร้างกับสามีคนญี่ปุ่น

         


การหย่า เชื่อว่าไม่มีใครอยากทำเรื่องนี้แน่ แต่ถ้าหากคู่สมรสที่ไปด้วยกันไม่ได้จริงๆ การทนอยู่ด้วยกันยิ่งเป็นเรื่องที่ลำบากมากกว่า  ดังนั้นมีคู่สมรสหลายคู่ที่ไปต่อไม่ได้ต้องดำเนินเรื่องหย่า  ซึ่งการจดทะเบียนหย่าที่ญี่ปุ่นไม่ได้ยุ่งยากมากมาย ถ้าทั้ง 2 คนสมัครใจกันหย่า แต่ถ้าหากว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็จะมีการนัดตกลงกันและประนีประนอมกันให้ตกลงกันด้วยดีที่สุด หากมีลูกด้วยกันก็จะต้องตกลงกันเรื่องการดูแลบุตร และค่าเลี้ยงดูกันด้วย  


            การตกลงหย่าเป็นเรื่องของคน 2 คน แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ ก็ควรมีล่ามที่คอยช่วยเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากว่าภาษาที่ใช้คนละภาษา และการพูดคุยอาจจะมีเรื่องที่เข้าใจผิดกันได้ง่ายๆ ดังนั้น บริงลัค จึงรับปรึกษาเรื่องนี้เพื่อช่วยเหลือการสื่อสารระหว่างคู่สามีคนญี่ปุ่นกับภรรยาคนไทยที่กำลังจะตกลงเรื่องหย่าร้าง  เนื่องจากว่าคู่สมรสที่อยู่ด้วยกันไม่ได้แล้วต่างฝ่ายก็ต่างมีอารมณ์ที่ขุ่นมัว ฉุนเฉียวกันทั้งคู่ แต่ละฝ่ายก็ต่างอยากได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการก่อนการหย่าร้าง การพูดคุยกันเองอาจจะเกิดปัญหาใหญ่โตกว่าเดิม ด้วยภาษาที่เข้าใจกันไม่ลึกซึ้งพอ อาจจะเป็นอุปสรรคได้ 

         บริงลัค ไม่ได้สนับสนุนให้คู่สมรสคู่ใดหย่าร้างกันเลย แต่เมื่อมีคู่สมรสที่ทั้งคู่จะไม่อยู่ด้วยกันแล้ว บริงลัค อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารที่เข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่ายได้ และตกลงกันได้ด้วยดี มีบางคู่ที่ปรึกษากับเรา พอคุยกันแล้วด้วยการใช้ภาษที่ถูกต้อง คู่สมรสบางคู่กลับมคืนดีกันและอยู่ด้วยกันต่อก็มี ดังนั้น เรื่องภาษาและการสื่อสารที่ดี เป็นสิ่งสำคัญต่อคู่สมรสเป็นอย่างมาก

        หากต้องการให้เราเป็นสื่อกลาง และหาล่ามเพื่อช่วยในความสัมพันธ์ของคุณโทรมาปรึกษาเราได้ที่

02-17-4009
061-402-7789
087-687-8719
LINE ID:  999kazu

รีวิวขั้นตอนจดทะเบียนสมรสคนไทยกับคนญี่ปุ่น พร้อมขอวีซ่าติดตามคู่สมรสคนญี่ปุ่น(จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน)

Process

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
                                      
Step 1  เมื่อมีลูกค้าติดต่อมาหาเรา เราจะติดต่อกลับโดยด่วนเพื่อสอบถามความต้องการของลูกค้า (ปรึกษาฟรี)
 🔻
 Step 2 เมื่อลูกค้าต้องการดำเนินเรื่อง เราจะนัดพบกับลูกค้าที่อ๊อฟฟิศ เพื่อคุยรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินเรื่องเอกสาร และแจ้งให้ลูกค้านำเอกสารตัวจริงและเอกสารสำคัญที่ใช้มาด้วยใน วันที่นัดพบกัน  หากลูกค้าไม่สะดวกเข้ามาสามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์ได้
 🔻
Step 3  เริ่มแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองคำแปล
 🔻
Step 4 ยื่นเอกสารเพื่อรับรองกระทรวงการต่างประเทศ
 🔻
Step 5 รับเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ
 🔻
Step 6 แปลเอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่น พร้อมรับรองคำแปล
 🔻
Step 7 ส่งเอกสารให้คู่สมรสคนญี่ปุ่น
 🔻
Step 8 ให้คู่สมรสคนญี่ปุ่นยื่นเอกสารที่ บริงลัค ส่งไปให้ไปยื่นที่อำเภอญี่ปุ่นตามทะเบียนบ้านของสามี
 🔻
Step 9 เมื่อคู่สมรสคนญี่ปุ่นดำเนินการเรียบร้อยให้ส่งเอกสารกลับมาที่ บริงลัค
 🔻
Step 10 บริงลัค ไปยื่นเอกสารที่สถานทูตญี่ปุ่นประจะจำประเทศไทย เพื่อขอหนังสือรับรองการสมรส
 🔻
Step 11 เมื่อได้รับเอกสารแล้ว แปลเอกสารอังกฤษเป็นไทย และรับรองคำแปล
 🔻
Step 12 ยื่นเอกสารเพื่อรับรองกระทรวงการต่างประเทศ
 🔻
Step 13 รับเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ
 🔻
Step 14 ส่งเอกสารให้คู่สมรสคนไทย
 🔻
Step 15 คู่สมรสคนไทยยื่นเอกสารที่อำเภอใหนก็ได้ในประเทศไทย *** กรณีที่คู่สมรสไทยต้องการเปลี่ยนนามสกุล และคำนำหน้า ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราเพื่ออธิบายเอกสารเพิ่มเติมนะคะ

    🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏


ขั้นตอนการยื่นขอวีซ่าติดตามคู่สมรสคนญี่ปุ่น

Step 1 คู่สมรสคนไทยส่งเอกสารเกี่ยวการจดทะเบียนสมรสให้ บริงลัค
 🔻
Step 2 บริงลัค แปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองคำแปล
 🔻
Step 3 ยื่นเอกสารเพื่อรับรองกระทรวงการต่างประเทศ
 🔻
Step 4 รับเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ
 🔻
Step 5 แปลเอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่น พร้อมรับรองคำแปล
 🔻
Step 6 บริงลัค จัดเตรียมเอกสารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด เพราะเอกสารทุกอย่างที่ส่งไปให้คู่สมรสญี่ปุ่นเพื่เพื่อยื่นขอใบพำนักให้กับคู่สมรสไทยมีผลต่อการยื่นขอใบพำนักของคู่สมรสคนไทยทั้งสิ้น
 🔻
Step 7 ส่งเอกสารให้คู่สมรสคนญี่ปุ่น
 🔻
Step 8 คู่สมรสคนญี่ปุ่นยื่นเอกสารที่ ตม . ญี่ปุ่นตามทะเบียนบ้านที่อาศัยอยู่ เพื่อขอใบพำนักให้คู่สมรสคนไทย
 🔻
Step 9 เมื่อผลออกมาว่า ตม.อนุมัติให้ผ่าน ตม.จะส่งใบพำนักที่บ้านคู่สมรสญี่ปุ่น
 🔻
Step 10 คู่สมรสคนญี่ปุ่นส่งเอกสารมาที่ บริงลัค
 🔻
Step 11 บริงลัค กรอกแบบฟอร์ม เพื่อเตรียมพาคู่สมรสคนไทยยื่นขอวีซ่าที่ศูนย์ขอวีซ่านานา
 🔻
Step 12 พาคู่สมรสคนไทยไปยื่นขอวีซ่า
 🔻
Step 13 ไปรับเอกสารวีซ่าให้ลูกค้า
 🔻
Step 14 นัดรับวีซ่า
 🔻
Step 15 สามารถเดินทางไปอยู่กับคู่สมรสที่ญี่ปุ่นได้  

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02-187-4009
061-402-7789 (คุณปลา) ภาษาไทย
087-687-8719 (MR.OTANI)  日本語


🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏 🙏

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

รับวิเคราะห์การขอวีซ่าญี่ปุ่นทุกประเภท (ฟรี)

         

   สำหรับคนไทยหากต้องการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเกิน 15 วัน  ดังนั้นจึงต้องมีการขอวีซ่าเพื่อขอพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะยาว ซึ่งวีซ่าของประเทศญี่ปุ่นมีหลายประเภทแล้วแต่ความจุดประสงค์ของผู้ขอ ยกตัวอย่างเช่น วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าติดตามคู่สมรส วีซ่าติดตามบิดามารดา วีซ่าทำงาน วีซ่าฝึกงาน วีซ่านักเรียน ที่กล่าวมานี้เป็นวีซ่าที่ทางสถานทูตญี่ปุ่นพิจารณาในการออกวีซ่าให้คนไทยไปพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นได้เกิน 15 วัน ซึ่งวีซ่าแต่ละประเภทก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และการยื่นขอวีซ่าแต่ละประเภทก็ไม่ใช่ว่าจะขอกันได้ง่ายๆ  ต้องมีการผ่านกระบวนการตรวจสอบเอกสารและข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ยื่นขอมากมาย และหลายขั้นตอน  บางท่านคิดว่าอ่านข้อมูลจากเว็บไซด์มาดีแล้ว และมีคนแนะนำดีแล้ว แต่สุดท้ายทำไมถึงยังโดนปฏิเสธวีซ่าอยู่  หากคุณกำลังกังวลกับการขอวีซ่าญี่ปุ่นของคุณอยู่ว่าจะเกิดปัญหา รวมถึงการเตรียมเอกสารต่างๆ และมีความหวังกับการขอวีซ่ามากน้อยแค่ใหน และวีซ่าที่คุณกำลังจะขอจะผ่านการอนุมัติจากสถานทูตฺหรือไม่  ด้วยแนวทางที่ถูกต้องและประสบการณ์จริงอของเรา"บริงลัค" เราจะทำการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อนในการยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่นให้กับคุณ เราสามารถแนะนำการเตรียมเอกสารที่สมบูรณ์แบบที่สุดให้กับคุณได้  



         ขั้นตอนการให้บริการของ "บริงลัค"

  • ให้คำปรึกษาเบื้องต้นและประเมินว่าคุณมีโอกาสที่จะได้รับวีซ่าหรือไม่ โทรมาปรึกษาได้ฟรี
  • ตรวจสอบเอกสารของผู้ยื่น และผู้สนับสนุนว่าครบถ้วนหรือไม่
  • ดำเนินเอกสารตามขั้นตอน แปลเอกสารเข้ากระทรวง กรอกแบบฟอร์มต่างๆ  เตรียมหนังสือชี้แจง(ซึ่งสำคัญมาก)
  • พาลูกค้าไปยื่นขอวีซ่าที่ศูนย์ขอวีซ่าญี่ปุ่นนานา 
  • รับวีซ่าให้ลูกค้า
         ด้วยขั้นตอนการขอวีซ่าแต่ละประเภทมีขั้นตอนและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องมีการปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างถูกต้องและรอบคอบ ไม่อย่างนั้นแล้วการขอวีซ่าของคุณอาจจะถูกปฏิเสธได้ เราจะต้องขอรายละเอียดและข้อมูลที่เป็นจริงกับลูกค้าทุกท่าน เพื่อจะได้วิเคราะห์และประเมินได้ว่าวีซ่าของคุณมีโอกาสผ่านหรือไม่เพื่อผลประโยชน์ของคุณเอง เพราะเราจะไม่รับงานที่ไม่มีทางเป็นได้เพื่อผลประโยชน์เข้าบริษัทเท่านั้น เราทำงานเพื่อผลงานที่สำเร็จ และให้บริการกับลูกค้าทุกคนอย่างจริงใจ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
02-187-4009
061-402-7789 คุณปลา (ภาษาไทย)
087-687-8719 Mr. Otani (日本語)
LINE ID : 999kazu 

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

การรับมรดกของสามีคนญี่ปุ่นที่เสียชีวิตแล้ว

 
   

มรดก คืออะไร ก่อนที่พูดถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ในการรับมรดกเรามาทำความรู้จักกับความหมายของคำนี้กันก่อนนะคะ 

มรดก คือ ทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย และยังรวมไปถึงสิทธิ และหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆที่ทางผู้ตายมีอยู่ใน ณ ขณะนั้น

        ภรรยาคนไทยหลายๆคนที่มีสามีคนญี่ปุ่นคงอยากจะทราบว่า หากสามีคนญี่ปุ่นเสียชีวิตแล้วตนเองมีสิทธิรับมรดกของสามีได้หรือไม่ ถ้าเป็นภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายทั้ง 2 ประเทศแล้ว ภรรยาคนไทยมีสิทธิรับมรดกของสามีคนญี่ปุ่นทั้งหมดกรณีที่สามีไม่มีทายาทผู้รับมรดก แต่ถ้าหากสามีมีทายาทในการรับมรดกทางภรรยาต้องได้รับมรดกตามสตามสัดส่วนของทายาทตามกฎหมายญี่ปุ่น  

ทายาทแบ่งออกเป็น 3 ลำดับดังนี้
**ทายาทลำดับที่ 1 ลูก 
**ทายาทลำดับที่ 2 พ่อแม่
**ทายาทลำดับที่ 3 พี่น้อง

***ทายาทไม่มีสิทธิได้รับมรดกทุกคนหากทว่าทายาทลำดับต้นๆยังมีชีวิตอยู่

สิทธิการรับมรดกของผู้เสียชีวิตตามสัดส่วนตามกฎหมายญี่ปุ่น

คู่สมรส มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย100% กรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาท

คู่สมรสกับลูก แบ่งมรดกออกเป็น 2 ส่วน คู่สมรสได้รับ 1 ส่วนลูกได้รับ 1 ส่วน หากมีลูกมากกว่า 1 คนให้ลูกแบ่งมรดกตามอัตราส่วนของลูกที่ได้รับเท่าๆกัน(หากลูกเสียชีวิตแล้วแต่มีหลาน(ลูกของลูก)ให้มรดกส่วนนั้นตกเป็นของหลาน นั้นเองค่ะ)

คู่สมรสกับพ่อแม่ผู้ตาย แบ่งมรดกออกเป็น 3 ส่วน คู่สมรสมีสิทธิรับมรดก 2 ส่วน พ่อแม่รับ 1 ส่วนของมรดกทั้งหมด

คู่สมรสกับพี่น้องของผู้ตาย แบ่งมรดกออกเป็น 4 ส่วน คู่สมรสมีสิทธิรับมรดก 3 ส่วน พี่น้องรับ 1 ส่วนของมรดกทั้งหมด หากมีพี่น้องมากกว่า 1 คนให้พี่น้องแบ่งเท่าๆกันตามอัตราส่วนที่พี่น้องมีสิทธิรับ (หากพี่น้องเสียชีวิตไปแล้วให้แบ่งส่วนนั้นให้ลูกๆของพี่น้อง) 

***การแบ่งมรดกทุกกรณีต้องได้รับการยินยอมจากผู้ที่มีสิทธิทุกคนก่อนถึงจะสามารถแบ่งตามสัดส่วนที่ระบุข้างต้นไว้ได้นะคะ หากมีผู้ใดผู้หนึ่งคัดค้านหรือไม่ยินยอม มรดกของผู้เสียชีวิตก็ไม่สามารถนำมาแบ่งกันได้นะคะ (อาจจะต้องขึ้นศาล)

        หากสามีคนญี่ปุ่นมีทรัพย์สินที่เมืองไทยการรับมรดกก็จะอิงตามกฎหมายไทย ดังนั้น หากสามีเสียชีวิตไม่ว่าฝ่ายชายจะมีทายาทกี่คนก็ต้องนำทายาทที่เกี่ยวพันธ์กันมาคำนวณการรับมรดกตามสัดส่วนที่ทางกฎหมายกำหนดไว้นะคะ

          แต่ถ้าหากทว่าสามีคนญี่ปุ่นได้มีการเขียนพินัยกรรมไว้ ตามเนื้อหาที่ถูกต้องตามหลักการเขียนพินัยกรรมของคนญี่ปุ่น ทางกฎหมายจะอิงการแบ่งมรดกตามพินัยกรรมเป็นหลัก ทรัพย์สินของสามีคนญี่ปุ่นที่เสียชีวิตก็จะถูกแบ่งตามสัดส่วนในพินัยกรรมที่ระบุไว้ค่ะ

          เช่นถ้าหากสามีเขียนพินัยกรรมว่าทรัพย์สินทั้งหมด  ยกให้ภรรยาคนไทยแต่เพียงผู้เดียว เรื่องนี้ก็คงไม่ต้องกังวลอะไรมากดำเนินเรื่องได้เลยตามขั้นตอนการรับมรดก  แต่เมื่อไม่มีพินัยกรรมกำหนดไว้ เมื่อสามีคนญี่ปุ่นเสียชีวิตแล้ว ก็ต้องไปตกลงกันกับทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของสามีอีกที บางครั้งทายาทของสามีอาจจะช่วยดำเนินเรื่องให้ภรรยาไทยรับทรัพย์สินทั้งหมดก็ได้ แต่บางท่านก็อาจจะรับส่วนแบ่งตามสิทธิการรับมรดกก็ได้ หรือทายาทบางท่านเห็นภรรยาเป็นคนไทยไม่รู้เรื่องภาษาอะไรก็อาจจะให้เซ็นต์เอกสารไม่รับมรดกของสามีคนญี่ปุ่นก็ได้ ดังนั้นก่อนที่จะเซ็นต์เอกสารใดๆก็ตามต้องเข้าใจเอกสารให้ดีเสียก่อนค่อยเซ็นต์นะคะ

         หากท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการเขียนพินัยกรรมและการรับมรดกของสามีคนญี่ปุ่นที่เสียชีวิตแล้ว ก็สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามได้เลยนะคะ ทางบริงลัคของเรา มีผู้เชี่ยวชาญด้านการดำเนินเรื่องเอกสาร ด้านการเป็นล่ามเพื่อติดต่อประสานงานต่างๆกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กับคุณได้  ก่อนที่คุณจะเสียเปรียบหรือถูกเอาเปรียบจากญาติพี่น้องของสามีคนญี่ปุ่นปรึกษาเราไว้ก่อนได้ค่ะ

ติดต่อสอบถามได้ที่
02-187-4009
061-402-7789  คุณปลา           (ภาษาไทย)
087-687-8719  MR.OTANI  (日本語)

       

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

การรับบำเหน็จบำนาญสามีคนญี่ปุ่นหลังจากสามีเสียชีวิต (IZOKU NENKIN)

      
 

      ภรรยาคนไทยที่จดทะเบียนสมรสกับผู้ชายญี่ปุ่นถูกต้องตามกฎหมายทั้ง 2 ประเทศ มีสิทธิรับเงินบำเหน็จบำนาญของสามีคนญี่ปุ่นหลังจากที่สามีคนญี่ปุ่นเสียชีวิตแล้วได้  และมีหลายคนเข้าใจผิดว่าภรรยาคนไทยที่อาศัยอยู่ที่เมืองไทย ไม่มีสิทธิรับเงินบำเน็ญบำนาญ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน แต่ที่จริงแล้วภรรยาคนไทยมีสิทธิรับผลประโยชน์ของสามีได้ค่ะ และมีอีกข้อคือภรรยาคนไทยไม่ได้ใช้นามสกุลสามีคนญี่ปุ่น กรณีนี้ ภรรยาก็มีสิทธิรับเงินบำเน็ญบำนาญของสามีคนญี่ปุ่นที่เสียชีวิตได้นะคะ ไม่เกี่ยวกับว่าใช้นามสกุลสามีคนญี่ปุ่นหรือไม่ค่ะ

       ***ข้อแนะนำสำหรับภรรยาคนไทยที่มีสามีคนญี่ปุ่นอยู่ตอนนี้ และสามียังไม่ได้เสียชีวิตอยู่  ขอให้เก็บหลักฐานสำคัญการชำระเงินบำเหน็จบำนาญของสามีไว้ด้วยนะคะ เพราะถ้าหากว่าภรรยาไม่เก็บเอกสารใดๆที่เกี่ยวข้องไว้เลย และภรรยาคนไทยก็ไม่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นกับเจ้าหน้าที่ได้ ก็จะเป็นการลำบากในการขอรับเงินบำเหน็จบำนาญของสามีตอนที่สามีเสียชีวิตนะคะ อย่าลืมเก็บเอกสารกันนะคะ

       หากท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับเงินบำเหน็จบำนาญสามีคนญี่ปุ่นหลังจากสามีเสียชีวิตไปแล้ว ก็สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

02-187-4009
061-402-7789(คุณปลา)
061-386-7798(คุณอาร์)
087-687-8719(คุณโอตานิ)
      

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

การจดรับรองบุตรและการขอสัญชาติญี่ปุ่น

     
              
       ผู้หญิงคนไทยกับผู้ชายคนญี่ปุ่นหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องการรับรองบุตรและขอสัญชาติญี่ปุ่นให้ลูก บางท่านอาจจะเข้าใจว่า ก็ลูกเกิดจากผู้ชายญี่ปุ่นอยู่แล้ว ลูกก็เป็นคนญี่ปุ่นและมีสัญชาติญี่ปุ่นตามพ่อได้เลย  

        แต่สำหรับคู่ที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ เช่น ผู้ชายญี่ปุ่นมีภรรยาติดทะเบียนสมรสกับคนอื่นอยู่ จึงไม่สามารถที่จะจดทะเบียนกับผู้หญิงไทยได้อีก หรือบางคู่อาจจะกำลังดำเนินเรื่องจดทะเบียนสมรส แต่ดันคลอดลูกก่อนการดำเนินจดทะเบียนสมรสเสร็จ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตร และการขอสัญชาติญี่ปุ่นให้กับลูก  ซึ่งลูกที่เกิดจากผู้หญิงคนไทยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ชายญี่ปุ่น  เมื่อมารดาคนไทยแจ้งเกิดลูกที่อำเภอไทย ลูกจะได้รับสัญชาติไทยได้ตามกฎหมาย แต่ถ้าต้องการให้ลูกมีบิดาเป็นชาวญี่ปุ่นถูกต้องตามกฎหมาย และต้องการขอสัญชาติญี่ปุ่นด้วยแล้ว จึงจะต้องมีการดำเนินเรื่องรับรองบุตร  และขอสัญชาติญี่ปุ่นให้กับลูก หลังจากดำเนินเรื่องเรียบร้อยแล้ว ลูกจะได้สัญชาติไทย และญี่ปุ่น  



           เมื่อดำเนินเรื่องรับรองบุตรและขอสัญชาติให้กับบุตรแล้ว บุตรมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

1. บุตรคนนี้จะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาชาวญี่ปุ่นร่วมกับมารดาชาวไทยโดยผลของกฎหมายทันทีอันมีผลทำให้บิดาและมารดามีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน

 2.บุตรจะได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างๆจากรัฐบาลญี่ปุ่น (โดยจะได้รับอย่างเต็มที่ ๑๐๐% หากพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น) นอกจากนั้นบุตรจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่นอีกสัญชาติหนึ่งด้วยนะคะ

3. สวัสดิการของบุตรซึ่งบิดาชาวญี่ปุ่น ได้แก่ ระบบสวัสดิการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายรับรองเพื่อช่วยเหลือบุตรของชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะ เช่น สิทธิในการเดินทางตามบิดาชาวญี่ปุ่นเข้าไปพำนักในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลายาวนานในฐานะประชากรชาวญี่ปุ่น สวัสดิการการศึกษา สวัสดิการเรื่องการรักษาพญาบาล ตามกฎหมายสวัสดิการของญี่ปุ่น

4.  เมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นในสังคมญี่ปุ่น และสิทธิที่จะประกอบอาชีพ ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเข้าสู่วัยการทำงาน รวมถึงสิทธิอื่นๆ ที่ประชากรชาวญี่ปุ่นจะได้รับตามกฎหมายสวัสดิการของญี่ปุ่น

          แต่สิทธิต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ส่วนใหญ่กำหนดไว้สำหรับเด็กสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งมีถิ่นที่พำนักหรือมีภูมิลำเนาในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ถ้าเด็กลูกครึ่งญี่ปุ่นนั้นไปพำนักหรือมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศญี่ปุ่น เช่น ไปอยู่ในประเทศไทยแล้วจะต้องดูรายละเอียดของระเบียบ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของระบบสวัสดิการแต่ละประเภทในญี่ปุ่นว่ามีข้อยกเว้นที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือสวัสดิการ เหล่านั้นให้แก่เด็กลูกครึ่งญี่ปุ่นที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นหรือไม่อย่างไรอีกทีนะคะ

สนใจติดต่องานด้านเอกสาร
02-187-4009 ,061-386-7798(คุณอาร์), 087-687-8719 คุณโอตานิ