วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

จดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อนกับที่ญี่ปุ่นก่อนเอกสาต่างกันอย่างไร?


"คำถามสุดฮอตของตอนนี้เลยค่ะ มีหลายท่านอินบล๊อกเข้ามาถามว่าการจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนและจดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน เอกสารที่เตรียมและได้หลังจากจดทะเบียนสมรสต่างกันอย่างไร?"



           ถ้าฝ่ายชายคนญี่ปุ่นมีเวลามาที่เมืองไทยหลายท่านก็อยากพาแฟนคนญี่ปุ่นไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอไทยก่อนใช่มั้ยหล่ะค่ะ  
           ถ้าจดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อนเอกสารที่ต้องเตรียมก็จะเป็นฝ่ายชายเตรียม เพื่อดำเนินเรื่องจดทะเบียนสมรสที่เมืองไทย วันที่จะไปยื่นจดทะเบียนสมรสที่ว่าการอำเภอไทยทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องไปด้วยกัน ซึ่งตอนนี้หลายๆคู่และหลายท่านเกิดปัญหาจดทะเบียนสมรสยังไม่ได้ต้องรอให้ที่ว่าการอำเภอตรวจสอบเอกสารก่อน ซึ่งก็ไม่รู้เวลาชัดเจนว่าตรวจสอบนานแค่นั้นและเมื่อไหร่ ถึงจะถูกเรียกให้มาจดทะเบียนสมรสกันได้ค่ะ ซึ่งปัญหานี้ทาง บลิงลัค เองก็จะช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะเป็นกฎระเบียบของการจดทะเบียนสมรสคนไทยกับคนต่างชาติตามกฎหมายไทยนะคะ เลยต้องอิงไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของที่ว่าการอำเภอไทยค่ะ             
          และฝ่ายชายคนญี่ปุ่นอาจจะต้องไปที่อำเภอหลายรอบ บางคู่ถึงขั้นวันลาพักร้อนของสามีหมดไปเลยยังจดไม่ได้ก็มีค่ะ  แต่เมื่อทางอำเภอนัดให้ไปจดทะเบียนกันได้แล้วนั้น  ทั้งคู่ก็ต้องไปลงลายมือชื่อต่อเจ้าหน้าที่พร้อมกัน 
           และทางอำเภอจะออกเป็นใบสำคัญสมรส (คร.3) 2 ใบ ซึ่งคู่สมรสจะเก็บไว้คนละใบนะคะ แล้วจดที่ไทยเรียบร้อยแล้วก็ต้องแจ้งการสมรสที่ทะเบียนบ้านญี่ปุ่นของสามีต่อไปค่ะการจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศถึงจะสมบูรณ์ค่ะ



           ส่วนการจดทะเบยนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อนนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายไม่จำเป็นต้องเดินทางไปมาระหว่างไทย-ญี่ปุ่นก็ได้นะคะ ฝ่ายหญิงอยู่ไทย ฝ่ายชายอยู่ที่ญี่ปุ่นก็สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ค่ะ โดยอิงตามกฎหมายจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นก่อน ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เตรียมเอกสารส่วนตัว เพื่อดำเนินเรื่องจดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน 
            โดยฝ่ายชายสามารถนำเอกสารฝ่ายหญิงแจ้งจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่นได้เลยค่ะ ฝ่ายหญิงไม่ต้องเดินทางไป หรือถ้าฝ่ายชายไม่สะดวกไปเองที่อำเภอญี่ปุ่น(กรณีฝ่ายชายอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ)ก็ยังสามารถที่จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปยื่นเอกสารแทนได้นะคะ ตรงนี้ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายไม่ต้องเสียเวลาเลยค่ะ เอกสารที่ได้จากอำเภอญี่ปุ่นจะเป็นการลงแจ้งสมรสในทะเบียนบ้านญี่ปุ่นฝ่ายชายว่าทั้งคู่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายญี่ปุ่นแล้ว           
           ส่วนเอกสารที่จะมาแจ้งที่ทางไทย ก็สามารถนำทะเบียนบ้านญี่ปุ่นที่ระบุการสมรสของคนไทยกับคนญี่ปุ่นมาดำเนินแจ้งการสมรสที่อำเภอไทยต่อได้เลยค่ะ เอกสารที่ทางอำเภอไทยออกให้คู่สมรสนั้น เรียกว่า บันทึกฐานะครอบครัวสมรส (คร.22) ซึ่งเอกสารตัวนี้ภรรยาคนไทยสามารถขอคัดได้จำนวนหลายชุดเลยค่ะ แต่เอกสารที่คัดส่วนใหญ่จะมีอายุใช้ได้แค่ 6 เดือน แล้วแต่หน่วยงานที่นำเอกสารไปใช้นะคะ ถ้าหมดอายุแล้วก็สามารถคัดใหม่ได้ทุกอำเภอในไทยค่ะ

        เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงตัดสินใจได้เลยว่าจะดำเนินเรื่องจดทะเบียนสมรสที่หในก่อนดี ที่ทางลูกค้าสะดวกกันทั้ง 2 ฝ่ายใช่มั้ยหล่ะค่ะ

         ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมเรื่องเอกสารการจดทะเบียนสมรส สามารถติดต่อเข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของเราได้ที่เบอร์

02-187-4009 (OFFICE)
061-386-7798 (คุณอาร์)
061-402-7789 (คุณปลา)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)
Line ID : 999kazu




วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มายนัมเบอร์( My Number : マイナンバー ) คืออะไร

ซึ่งบัตรชนิดนี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นพึ่งประกาศใช้เมื่อปี 2015 ที่ผ่านมานี่เองค่ะ 
สำหรับคนไทยที่มีใบพำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นคงทราบดีเกี่ยวกับบัตรตัวนี้ ส่วนคนไทยที่ยังไม่ได้ไปพำนักที่ญี่ปุ่นแต่กำลังจะเดินทางไป ควรมีข้อมูลเรื่องนี้ติดตัวไว้สักหน่อยก็ดีค่ะ วันนี้บริงลัค ก็ได้มีโอกาศมาเล่ารายละเอียดคราวๆกับบัตรตัวนี้ให้คนไทยทำความรู้จักกันนะคะ


มายนัมเบอร์( My Number : マイナンバー ) คือ หมายเลขประจำตัว 12 หลัก ที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้ เพื่อยื่นยันตัวบุคคลที่มีสถานภาพพำนักในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทุกคนต้องมีทั้งที่เป็นคนญี่ปุ่นเองหรือคนต่างชาติทุกคนที่มีสถานภาพพำนักที่ญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมายเกิน 3 เดือน และผู้ทีมีที่อยู่ในทะเบียนบ้านญี่ปุ่น ได้แก่ ผู้ที่ถือบัตรประจำตัวผู้มีถิ่นพำนักในญี่ปุ่น(ไซริวการ์ด) ผู้ที่ถือใบพำนักถาวร (เอยู) ผู้ที่ได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัย เป็นต้น ซึ่งไม่รวมถึงนักท่องเที่ยวนะคะ

มายนัมเบอร์( My Number : マイナンバー ) มีไว้เพื่ออะไรบ้าง เพื่อให้หน่วยงานราชการญี่ปุ่นได้มีการเรียกเก็บภาษีรายได้  การสมัครงานกับนายจ้าง รับสิทธิประกันสังคม สำนักงานบำเหน็จบำนาญ และรับสวัสดิการต่างๆที่สำนักงานเขตหรือเทศบาลในญี่ปุ่นได้ ซึ่งมายนัมเบอร์ ก็น่าจะคล้ายๆบัตรประชาชนในประเทศไทยค่ะที่สามารถใช้ยืนยันตัวตนเพื่อเชื่อมต่อกับระบบต่างๆของหน่วยงานราชการญี่ปุ่นได้

ดังนั้น บัตรนี้เป็นเอกสารส่วนบุคคลไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ นอกจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้นนะคะ 

มายนัมเบอร์( My Number : マイナンバー )  ทำได้ที่ใหน

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการให้บริการแปลเอกสาร By BringLuck


ขั้นตอนการให้บริการรับงานแปล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโดยเฉพาะ

การแปลเอกสารทางราชการของไทยและญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่ใครจะแปลก็ได้ เพราะถ้าไม่ใช้ผู้มีประสบการณ์แล้วหล่ะก็อาจจะต้องมีข้อผิดพลาด และต้องแก้ไขงานแปลเอกสารหลายรอบทำให้เสียเวลาและเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์  บางท่านเลยต้องใช้บริการร้านแปล หรือบริษัทแปลเอกสารซึ่งก็มีหลายที่ให้คุณเลือก และบริษัท Bring Luck ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนๆกำลังตัดสินใจว่าจะใช้บริการกับเราดีมั้ยใช่มั้ยค่ะ  การแปลเอกสารราชการภาษาไทย-อังกฤษ-ญี่ปุ่น เป็นงานที่บริษัทของเราได้สรรหานักแปลมืออาชีพมาแปลงานให้ลูกค้าเพื่อให้งานออกมาถูกต้องและได้งานที่เสร็จอย่างรวดเร็วที่สุด ผู้แปลชาวญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในวงการนี้มามากกว่า 20 ปี  ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางราชการ หรือเอกสารอื่นๆก็สามารถใช้บริการแปลกับเราได้ โดยมีขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้นะคะ

1. ลูกค้าสามารถถ่ายรูปหรือแสกนไฟล์งานแปล ส่งมาประเมินราคากับเราได้ที่

LINE ID : 999kazu

E-Mail : bringluck_1@hotmail.com



2. บริษัทเสนอราคางานแปลให้กับลูกค้า

3. ลูกค้าชำระค่าแปลเพื่อเริ่มงาน

4. ดำเนินการแปล พร้อมรับรองคำแปลให้ลูกค้าหากลูกค้ามีความประสงค์

5. บริษัทส่งเอกสารงานแปลให้ทาง EMS หรือ E-mail ตามที่ลูกค้าแจ้งมา

       กรณีที่ลูกค้าต้องการให้เรารับรองเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศให้นั้น ขั้นตอนนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและใช้เวลาเพิ่มเติมในการรับงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รับงานกับลูกค้า เราจะมีเจ้าหน้าที่โทรยืนยันการแปล และนัดวันรับงานแปลอย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ค่ะ แต่เรื่องคุณภาพขอให้เชื่อใจเราได้ค่ะ สามารถโทรเข้ามาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของเราก่อนได้ที่ 

02-187-4009
061-386-7798
061-402-7789
087-687-8719

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคะเซกิโทฮง) Kosekitohon


ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (โคะเซกิโทฮง) ที่คนไทยบางท่านรู้จักดีและบางท่านก็ไม่รู้จักเลยว่าเอกสารตัวนี้สำคัญอย่างไรและเกี่ยวข้องอะไรเมื่อมีคู่สมรสเป็นคนญี่ปุ่น

         ปกติแล้วคนไทยจะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน(เล่มสีน้ำเงินเข้ม มีแบบเดียวใช้เหมือนกันทั่วประเทศ) ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นใครก็ได้เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านนี้ โดยได้รับการยินยอมจากเจ้าบ้าน และทะเบียนบ้านไทยจะระบุแค่ฐานข้อมูลพื้นฐานของบุคลลนั้นๆ เท่านั้น 

       แต่สำหรับทะเบียนบ้านญี่ปุ่นมีความแตกต่าง กับทะเบียนบ้านไทยค่อนข้างมากทีเดียวค่ะ ทะเบียนบ้านญี่ปุ่นจะเป็นกระดาษมีลวดลายขนาด A4 มีหลายแบบหลายสีแล้วแต่อำเภอ   คนที่อยู่ในทะเบียนบ้านญี่ปุ่นล้วนเป็นคนในครอบครัวเท่านั้น เช่น สามี-ภรรยา-บุตร-บุตรบุญธรรม  และทะเบียนบ้านจะระบุข้อมูลพื้นฐานของบุคคลนั้นๆ และรวมถึงการจดทะเบียนสมรส การหย่า การแจ้งเกิดลูก  การแจ้งตาย การแจ้งรับบุตรบุญธรรม ล้วนแต่ต้องระบุในฐานข้อมูลทะเบียนบ้านนี้ทั้งหมด เช่น คนญี่ปุ่นจดทะเบียนกี่ครั้ง หย่ามาแล้วกี่รอบแล้ว มีลูกตามกฎหมายกี่คน ล้วนแต่ระบุในทะเบียนบ้านญี่ปุ่นนี้ทั้งหมดค่ะ ดังนั้น ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (โคะเซกิโทฮง)  จึงเป็นเอกสารที่คู่สมรสคนไทยควรต้องทำความรู้จักนะคะ

        การคัดทะเบียนบ้านญี่ปุ่น ทำให้ทราบได้เลยว่าสถานภาพตอนนี้ระหว่างคุณกับคนญี่ปุ่นเป็นอย่างไร เช่น กรณีที่หลายคนไม่ได้ติดต่อกันเป็นระยะยาว ขาดการติดต่อกัน แต่ตอนแยกทางไม่แน่ใจว่าดำเนินเรื่องหย่ากันแล้วหรือยัง การคัดทะเบียนบ้านญี่ปุ่นสามารถทำให้คุณทราบได้ว่าระหว่างคุณกับคนญี่ปุ่นสถาณภาพตอนนี้เป็นอย่างไรได้ค่ะ

        หากสนใจปรึกษาเรื่องเอกสารสามารถติดต่อสอบถามกับเราได้ที่

02-187-4009 (อ๊อฟฟิศ)
061-402-7789 (คุณปลา)
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)

ขอบคุณที่เขามาอ่านและติดตามกันนะคะ เราจะพยายามหาข้อมูลดีๆมาเพื่ออัพเดทให้ทุกคนได้หาความรู้เรื่องเอกสารของคนไทยกับคนญี่ปุ่น หวังว่าเพจของเราจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามารับชมไม่มากก็น้อยค่ะ