วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

ฤดูกาลในประเทศญี่ปุ่น


ฤดูกาล
ประเทศญี่ปุ่นมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว แต่ละฤดูกาล สามารถแบ่งได้คร่าวๆ เป็นฤดูกาลละ 3 เดือน ดังต่อไปนี้

① ฤดูใบไม้ผลิ       มีนาคม      -     พฤษภาคม
② ฤดูร้อน             มิถุนายน    -     สิงหาคม
(ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ที่ญี่ปุ่นจะเป็นช่วงหน้าฝน ฝนจะตกแทบทุกวัน อากาศจะชื้นมาก เมื่อหมดหน้าฝนไปแล้ว ก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน )
③ ฤดูใบไม้ร่วง      กันยายน     -     พฤศจิกายน
④ ฤดูหนาว           ธันวาคม     -     กุมภาพันธ์

     วันนี้เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับฤดูกาลทั้ง 4 ของประเทศญี่ปุ่น บางคนอาจจะเคยเห็น ตุ๊กตาฮินะ ธงปลาคาร์พ ต้นไผ่ประดับด้วยกระดาษขอพรในเทศกาลทานาบาตะ แต่ก็คงจะไม่ทราบว่าเป็นของเทศกาลอะไร เป็นช่วงฤดูอะไรของประเทศญี่ปุ่น แต่ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นคนญี่ปุ่นแล้วก็สามารถตอบได้ว่า เทศกาลฮินามัตสึ คือวันที่ 3 มีนาคม วันเด็กคือวันที่ 5 พฤษภาคม วันทานาบาตะคือวันที่ 7 เดือนกรกฎาคม
ในแต่ละฤดูกาลจะมีเทศกาลแตกต่างกันไป ซึ่งการที่ประเทศญี่ปุ่นจะมี 4 ฤดู ทำให้คนญี่ปุ่นมักมีนิสัยวางแผน เช่นว่า ภายในช่วงฤดูนี้จะต้องพยายามให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และสามารถพยายามเพื่ออนาคตวันข้างหน้า

24 ฤดู 72 สภาพอากาศ”  nijuyonsetsuki nanajunisoro ”
ปฏิทินโบราณ สำหรับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
      ชาวญี่ปุ่นชอบการเดินเล่นเป็นชีวิตจิตใจ มักจะชวนคู่รักหรือเพื่อนฝูงไปเดินเล่น ชมความงามตามธรรมชาติ ของดอกไม้ในแต่ละฤดูกาล  เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิคนญี่ปุ่นเรียกได้ว่าแทบจะทุกคนจะต้องไปชมดอกซากุระ ( ภาษาญี่ปุ่นเรียกการชมดอกซากุระว่า “โอฮานามิ ” ) จะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นนั้นเป็นชาติที่นิยมการดื่มด่ำไปกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งการที่มีปฏิทินโบราณ  สำหรับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ที่เรียกว่า ”  nijuyonsetsuki nanajunisoro ” ก็สามารถยืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ถ้าพูดถึง   (risshun )  (geshi ) (shuubun) ( touji ) ”  อาจจะเข้าใจได้ยากสักนิด แต่ถ้าพูดถึง ”shunbunnohi” วันในฤดูใบไม้ผลิที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน คิดว่าทุกท่านน่าจะพอเคยได้ยินมาบ้าง

กิจกรรมและเทศกาลในหนึ่งปี
เทศกาลต่างๆตลอดทั้งปี มีลักษณะเฉพาะฤดูกาลนั้น
การที่มี 4 ฤดู ไม่ใช่แค่ปรากฏการณ์ของฤดูกาล แต่ยังมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปถึงเทศกาลต่างๆที่มี ตลอดปีด้วย เมื่อเราเข้ามาเป็นสะใภ้ของครอบครัวชาวญี่ปุ่นแล้ว เราก็อาจจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมหรือเทศกาลต่างๆ ร่วมกับครอบครัวหรือเครือญาติๆของสามีด้วย
      ที่เมืองไทยก็มีเทศกาลที่มีชื่อเสียงเช่น งานลอยกระทง หรือประเพณีสงกรานต์ แต่ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น เทศกาลต่างๆ ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตามแต่ฤดูกาลทั้งนั้น
       การจะทำความเข้าใจกับเทศกาลทั้งหมดในญี่ปุ่นคงยากจนเกินไป เพราะฉะนั้นในช่วงแรกขอให้สมาชิกเข้าใจเรื่องนี้คร่าวๆ โดยจะกล่าวถึงเทศกาลสำคัญๆ ดังนี้
ความรู้เกี่ยวกับเทศกาลต่างๆในตลอดหนึ่งปี 
ฤดูหนาว
  • ฮัตสึโมเดะ         ( การไหว้พระปีใหม่ )
  • คาดะมัตสึ          ( กิ่งสนประดับประตูบ้านในวันเทศกาลปีใหม่ )
  • คางามิโมจิ         (ดมจิสำหรับไหว้ในเทศกาลปีใหม่ )
  • โอเซจิเรียวริ       ( อาหารพิเศษที่ทานในช่วงปีใหม่ )
  • โอะโซนิ            ( อาหารประเภทต้มใส่โมจิ นิยมทานช่วงปีใหม่ )
  • โอโทชิดามะ      ( แต๊ะเอีย )
  • ชิเมคาซาริ         ( เชือกประดับประตูบ้านเทศกาลปีใหม่ )
  • ชิชิไม               ( การเชิดสิงโต )
  • ฮาเนะสึคิ           ( การละเล่นตีลูกขนไก่ )
  • โคมะมาวาชิ       ( การละเล่นลูกข่าง )
  • ทาโกะอาเงะ      ( การละเล่นชักว่าว)
  • คารุตะ              ( การละเล่นจับคู๋การ์ดกลอน )
  • เน็งกะโจ           ( ไปรษณีย์บัตรอวยพรปีใหม่ )
  • โมจิสึคิ             ( การตำแป้งข้าวเหนียวในวันปีใหม่
  • โคทัตสึ            ( ตะทำความร้อน )
  • เซ็ตสึบุน           ( เทศกาลปาถั่ว )
ฤดูใบไม้ผลิ    
  • ฮินะมัตสึริ                          (เทศกาลวันเด็กผู้หญิง)
  • โอะฮานามิ                         (การชมดอกซากุระ)
  • โค่ยโนโบริ – คาบุดตะ       (ธงปลาคาร์พและชุดเหล็กที่สวมกับชุดเกราะ ซึ่งเป็นของประดับใเทศกาลวันเด็ก)
ฤดูร้อน
  • ทานาบาตะ          ( วันที่ 7 กรกฎาคม ของทุกปีมีการประดับต้นไผ่ด้วยกระดาษขอพร
  • โอบ้ง                  ( วันที่วิญญาณบรรพบุรุษจะกลับมาเยี่ยมบ้าน )
  • นัตสึมัตสึริ            (เทศกาลฤดูร้อน )
  • บงโอริ                 (การเต้นรำในเทศกาลโอบ้ง )
ฤดูใบไม้ร่วง
  • โอสึคิมิ              ( การชมพระจันทร์ยามค่ำคืน )
  • ชิจิโกะซัง           (เทศกาลลองการเติบโตของเด็กชายและเด็กหญิง )
การเปลี่ยนเสื้อผ้าเข้ากับฤดูกาล
คนญี่ปุ่นเปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้เข้ากับฤดูกาล
      ประเทสญี่ปุ่นมีหลายฤดูกาล จึงต้องมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าการแต่งกายให้เข้ากับฤดูกาลภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  “ koromogae ”    ถ้าเริ่มใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแล้ว ก็คงสวมเสื้อหน้าร้อน สวมรองเท้าแตะ ทั้งปีเหมือนตอนที่อยู่เมืองไทยไม่ได้ ถึงที่เมืองไทยจะไม่มีธรรมเนียมเรื่องการใส่ถุงเท้า หรือกางเกงผ้าเพื่อความอบอุ่น  รับรองว่าถ้ามาญี่ปุ่นแล้ว เมื่อถึงฤดูหนาวจะต้องได้ใส่แน่ นอกจากนี้ยังอาจต้องพันผ้าพันคอ และสวมถุงมือด้วย ถ้าหากว่ายังไม่เคยชินกับสภาพอากาศหนาว อาจใช้แผ่นทำความร้อนแบบพกพา เวลานอนก็สามารถใช้ถุงน้ำร้อน หรือผ้าห่มไฟฟ้าได้
คนไทยเราคงจะนึกภาพไม่ออกว่าฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะหนาวสักแค่ไหน เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม จึงเป็นสำคัญ
        ประเทศญี่ปุ่นมีสภาพอากาศแตกต่างกันตามเขตภูมิภาค เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะแนวตั้งที่ทอดแนวยาวลงมา เกาะฮอกไกโด ที่อยู่เหนือสุด และเกาะคิวชูที่อยู่ใต้สุด จึงมีสภาพที่แตกต่างกันมาก เหมือนไม่ใช่ประเทศเดียวกันคนไทยคงจะมีน้อยนักที่เคยเห็นหิมะ บางคนพอพูดถึงหิมะที่สวยงาม แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในแถบภาคเหนือ หิมะที่กองทับถมกันสูงหลายเมตร ก็เป็นอันตรายเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าพอเข้าฤดูหนาว เกาะญี่ปุ่นทั้งเกาะจะต้องจมอยู่ใต้กองหิมะ เพราะฉะนั้นก็ขอให้สบายใจได้ โดยจะอธิบายเกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆของญี่ปุ่นในหัวข้อถัดไป

    ภูมิภาคกับสภาพอากาศ
ประเทศญี่ปุ่นทั้ง 6 ภูมิภาค มีอุณภูมิแตกต่างกัน
  ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกของมหาทวีปยูเรเซีย ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 4 เกาะ ได้แก่ เกาะฮอนชู เกาะฮออกไกโด เกาะชิโดกุ และเกาะคิวชู และยังมีเกาะขนาดเล็กอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก
 ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ตรงบริเวณกึ่งกลางของซีกโลกด้านบน มีทั้งหมด 4 ฤดูกาล อยู่ในเขตพื้นที่อุณหภูมิอบอุ่น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นทอดแนวยาวเป็นแนวตั้ง ในภาคเหนือจึงมีสภาพอากาศแบบเขตหนาว ส่วนเกาะทางใต้ จึงมีสภาพอากาศเขตร้อน  ด้วยอิทธิพลของกระแสลมตามฤดูกาล ทำให้ในนฤดูร้อนมีฝนตกมากในฝั่งแปซิฟิก และในเขตฤดูหนาวมีฝนตกมากในฝั่งทะเลญี่ปุ่น ในช่วงต้นฤดูร้อน จะมีฝนตกมากในหลายพื้นที่ ยกเว้น ในเกาะฮอกไกโด ซึ่งจะเรียกช่วงนี้ว่า “ สึยุ ” (ฤดูฝน ) ในช่วงปลายหน้าร้อนจนถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วง ในพื้นที่ใกล้เคียงเส้นศูนย์สูตรจะเกิดกลุ่มความกดอากาศต่ำแบบเขตร้อน เมื่อคลื่นตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีสภาพเป็นพายุใต้ฝุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนัก และบางทีก็ทำให้เกิดภัยธรรมชาติได้

สภาพภูมิอากาศของญี่ปุ่น สามารถแบ่งได้คร่าวๆเป็น 6 ชนิด 

① ภูมิอากาศเขตฮอกไกโด ไม่มีฤดูฝน ปริมาณฝนตกน้อย เมื่อเข้าฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยติดลบประมาณ 4 เดือน
② ภูมิอากาศฝั่งทะเลแปซิฟิก ในฤดูร้อนจะมีปริมาณฝนตกน้อยมาก เนื่องจากอิทธิพลของกระแสลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ในหน้าร้อน
③ ภูมิอากาศฝั่งทะเลญี่ปุ่น ในฤดูหนาวจะมีปริมาณฝนตกมาก เนื่องจากอิทธิพลของกระแสลมจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือในหน้าหนาว
④ ภูมิอากาศเขตจูโอโคจิ  มีปริมาณน้ำฝนน้อยมาก เนื่องจากล้อมรอบไปด้วยภูเขา
⑤ ภูมิอากาศเขตทะเลเซโตไน  มีปริมาณน้ำฝนน้อยมาก เนื่องจากกระแสลมตามฤดูกาลจะถูกปิดกั้น  โดยแนวเขาในเขตชิโกกุในฤดูร้อน และโดยแนวภูเขาในเขตจูโงคุในฤดูหนาว
⑥ ภูมิอากาศของหมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้   ในเขตโอกินาว่า อุณหภูมิเฉลี่ยในหนึ่งเดือนโดยเฉลี่ยสูงเกิน 22 องศา

ท่านคงกำลังสงสัยว่าตัวท่านจะได้ไปอาศัยในเขตอากาศลักษณะไหน ลองดูตามด้านล่างนี้ แล้วจะเข้าใจมากขึ้นค่ะ
① ภูมิภาคเขตฮอกไกโด      จังหวัดฮอกไกโด, ซับโปโร
② ภูมิภาคฝั่งทะเลแปซิฟิก    กรุงโตเกียว , จังหวัดกายามะ      
③ ภูมิภาคฝั่งทะเลญี่ปุ่น        จังหวัดนิอิงาตะ, คานาวาวะ,โทตโทริ          
④ ภูมิภคเขตจูดอโคจิ           จังหวัดนางาดนะ, มัตสึโมโตะ
⑤ ภูมิภาคเขตทะเลเซโตไน   จังหวัดโอคายามะ, คางาวะ, ทาคามัตสึ,โออิตะ
⑥ ภูมิภาคของหมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้        จังหวัดโอกินาวะ, นาฮา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น