วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ความรู้เกี่ยวกับเทศกาลต่างๆในตลอดหนึ่งปี

ฤดูหนาว
- ฮัตสึโมเดะ (การไหว้พระปีใหม่)
- คาดะมัตสึ (กิ่งสนประดับประตูบ้านในวันเทศกาลปีใหม่)
- คางามิโมจิ (ดมจิสำหรับไหว้ในเทศกาลปีใหม่)
- โอเซจิเรียวริ ( อาหารพิเศษที่ทานในช่วงปีใหม่)
- โอะโซนิ (อาหารประเภทต้มใส่โมจิ นิยมทานช่วงปีใหม่)
- โอโทชิดามะ (แต๊ะเอีย)
- ชิเมคาซาริ (เชือกประดับประตูบ้านเทศกาลปีใหม่)
- ชิชิไม (การเชิดสิงโต)
- ฮาเนะสึคิ (การละเล่นตีลูกขนไก่)
- โคมะมาวาชิ (การละเล่นลูกข่าง)
- ทาโกะอาเงะ (การละเล่นว่าว)
- คารุตะ (การละเล่นจับคู่การ์ดกลอน)
- เน็งกะโจ (ไปรษณีย์บัตรอวยพรปีใหม่)
- โมจิสึคิ (การตำแป้งข้าวเหนียวในวันปีใหม่)
- โคทัตสึ (ตะทำความร้อน)
- เซ็ตสึบุน (เทศกาลปาถั่ว)


ฤดูใบไม้ผลิ       
- ฮินะมัตสึริ (เทศกาลวันเด็กผู้หญิง)
- โอะฮานามิ (การชมดอกซากุระ)
- โค่ยโนโบริ-คาบุดตะ (ธงปลาคาร์พและชุดเหล็กที่สวมกับชุดเกราะ ซึ่งเป็นของประดับใเทศกาลวันเด็ก)      

ฤดูร้อน
- ทานาบาตะ(วันที่ 7 กรกฎาคม ของทุกปีมีการประดับต้นไผ่ด้วยกระดาษขอพร)
- โอบ้ง (วันที่วิญญาณบรรพบุรุษจะกลับมาเยี่ยมบ้าน)
- นัตสึมัตสึริ (เทศกาลฤดูร้อน)
- บงโอริ (การเต้นรำในเทศกาลโอบ้ง)

ฤดูใบไม้ร่วง
- โอสึคิมิ (การชมพระจันทร์ยามค่ำคืน)
- ชิจิโกะซัง (เทศกาลฉลองการเติบโตของเด็กชายและเด็กหญิง)

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การอาบน้ำของคนญี่ปุ่น


         ว่ากันว่าคนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่นิยมการอาบน้ำโดยแช่อ่างน้ำ แต่ไม่มีธรรมเนียมอาบน้ำฝักบัววันละหลายๆครั้งเหมือนกับคนไทย คนญี่ปุ่นเมื่อเสร็จจากงานที่เหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน มักจะนิยมผ่อนคลายโดยการแช่อ่างอาบน้ำร้อนๆ ฉะนั้นคนญี่ปุ่นหลายต่อหลายคนมักประหลาดใจเมื่อเห็นคนไทยอาบน้ำฝักบัวแม้กระทั่งในฤดุหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนคนญี่ปุ่นบางคนจะอาบน้ำฝักบัววันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น แต่โดยทั่วไปแล้วคนญี่ปุ่นมักอาบน้ำโดยแช่ในอ่างอาบน้ำ


         คนญี่ปุ่นมีลำดับการแช่อ่างอาบน้ำ โดยผู้ที่สูงวัยจะอาบน้ำเป็นคนแรก คนญี่ปุ่นค่อนข้างเคร่งครัดใน "ลำดับการแช่อ่างน้ำร้อน" โดยผู้มีศักดิ์สูงกว่าจะได้เข้าใช้อ่างอาบน้ำก่อน ในกรณีที่อยู่ร่วมกับคุณพ่อคุณแม่สามี จึงจะต้องให้ท่านอาบเสร็จเสียก่อน เราซึ่งเป็นสะใภ้ของบ้านจึงจะสามารถอาบได้ ซึ่งคนญี่ปุ่นมักมีธรรมเนียมให้สะใภ้อาบเป็นคนสุดท้าย


วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ค่าครองชีพ



การเดินทาง
คนญี่ปุ่นเดินทางไปไหนมาไหนโดยรถไฟ แต่เมืองไทยเวลาไปไหนมาไหน คงมีคนใช้บริการแท็กซี่อยู่เสมอๆ ถึงจะนั่งไปประมาณ 20 นาที แต่ค่าบริการก็ไม่น่าจะเกิน 70 บาท คนญี่ปุ่นเองเวลามาเที่ยวเมืองไทยก็มักจะใช้บริการแท็กซี่เช่นเดียวกัน แต่กลับกันประเทศญี่ปุ่น ถ้าหากนั่งแท็กซี่ประมาณ 20 นาที ค่าบริการจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 เยน ขึ้นไป เพราะฉะนั้นคนญี่ปุ่นจะไม่ค่อยนั่งรถแท็กซี่ นอกจากจะมีเหตุจำเป็นจริงๆเท่านั้น  
- ที่ญี่ปุ่นระบบคมนาคมทางรถไฟ มีความสะดวกสบาย
- รถเมล์และรถไฟญี่ปุ่นวิ่งตามเวลา แทบจะไม่คลาดเคลื่อน
- รถไฟ รถเมล์สาธารณะเป็นยานพาหนะที่ได้รับการเชื่อถือมาก เพราะถ้าเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจะคาดเดาไม่ได้เลยว่าจะถึงเมื่อไหร่
- ถึงจะมีรถยนต์ส่วนตัว แต่ค่าจอดรถที่ญี่ปุ่นแพงมาก การเดินทางไหนมาไหน ใช้รถไฟจะสะดวกที่สุด


การโทรศัพท์
ค่าโทรศัพท์ที่ญี่ปุ่นนั้นแพงกว่าที่เมืองเมืองไทย การโทรศัพท์ไปที่เมืองไทยนั้นก็มีหลายวิธี เช่น การโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต


อาหารการกิน
ปกติชาวญี่ปุ่นจะทำกับข้าวทุกวัน ที่ประเทศไทยอาจจะหาซื้อบะหมี่ชามละ 40 บาท แต่ถ้าที่ญี่ปุ่นต่อให้เป็นร้านที่ถูกแสนถูก ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท ถ้าไปร้านที่แพงหน่อยก็ประมาณ 330 บาท


สาวใช้
       การจ้างสาวใช้ที่เมืองไทย ไม่เรื่องที่น่าแปลก แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นแทบจะไม่มีการจ้างสาวใช้ เพื่อมาช่วยงานบ้าน เพราะว่าค่าแรงของญี่ปุ่น ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเมืองไทย การทำความสะอาดบ้าน และทำงานบ้านต่างๆด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องปกติสำหรับคนญี่ปุ่น