วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การแจ้งการเสียชีวิตสามีคนญี่ปุ่น

กรณีใครที่มีสามีคนญี่ปุ่น แล้วสามีเสียชีวิตจะต้องทำเอกสารอะไรบ้าง วันนี้จะอธิบาย 2 หัวข้อด้วยกันดังนี้นะคะ
1. สามีคนญี่ปุ่น เสียชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่น (กรณีจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศ)

หากสามีเสียชีวิตแล้วที่ญี่ปุ่น ต้องมีแจ้งการเสียชีวิตที่อำเภอตามทะเบียนบ้านสามี เรื่องการตาย และหลังจากนั้นภรรยาต้องแจ้งที่เมืองไทยด้วย โดยคัดทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) เรื่องที่ระบุการเสียชีวิตของสามี เพื่อแจ้งการเสียชีวิตที่ไทยให้สามีด้วยเนื่องจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีขั้นตอนการแจ้งตาย คือ

1. สามารถแจ้งได้ที่สถานทูตไทย ณ กรุงโตเกียว หรือโอซาก้า โดยการคัดทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) ตัวจริง โดยผ่านรับรองกระทรวงการต่างประเทศ ไม่เกิน 3 เดือน และแปลเอกสารเป็นภาษาไทย ให้ทางสถานทูตไทย ณ กรุงโตเกียว หรือโอซาก้า  รับรองเอกสารให้ และภรรยาไทยนำเอกสารมาดำเนินเรื่องแจ้งการเสียชีวิตที่อำเภอไทยต่อได้เลย  ก่อนไปที่อำเภอไทยต้องนำเอกสารดังกล่าวรับรองกระทรวงการต่างประเทศให้เรียบร้อยด้วยนะคะ

2. ภรรยาคนไทยมีทะเบียนบ้านสามีคัดเรื่องการเสียชีวิต นำมาดำเนินเรื่องที่เมืองไทย คือต้องไปยื่นทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) ตัวจริงที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ทางสถานทูตจะออกใบรับรองการเสียชีวิต หรือใบมรณบัติเป็นภาษาอังกฤษให้ ให้นำเอกสารมาแปลไทยรับรองกระทรวงการต่างประเทศ และสามารถไปแจ้งที่อำเภอไทยตามทะเบียนบ้านบ้านของภรรยาได้เลยนะคะ

2. สามีคนญี่ปุ่น อาศัยอยู่เมืองไทย เสียชีวิตที่ไทย

หากสามีเสียชีวิตที่เมืองไทย การแจ้งการเสียชีวิตของสามีให้แจ้งที่อำเภอตามทะเบียนบ้านของภรรยา ทางอำเภอจะออกใบมรณบัติให้ และดำเนินเรื่องแจ้งการเสียชีวิตที่ญี่ปุ่น มีขั้นตอนการแจ้งการตายดังนี้
1. นำใบมรณะบัตรของสามีคนญี่ปุ่นที่ออกโดยอำเภไทย ติดต่อสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อ แจ้งการเสียชีวิตของสามีคนญี่ปุ่น  และทางสถานทูตจะดำเนินเรื่องแจ้งไปที่อำเภอตามทะเบียนบ้านญีปุ่นของสามี แต่จะใช้เวลาประมาณ 1เดือนครึ่ง - 2เดือน การดำเนินเรื่องถึงจะเสร็จสมบูรณ์นะคะ

2. หากภรรยามีทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) ของสามีอยู่แล้ว สามารถติดต่อไปที่อำเภอตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน และสามารถยื่นเอกสารแจ้งการเสียชีวิตได้ที่อำเภอตามทะเบียนบ้านญี่ปุ่นของสามีได้โดยตรง (ก่อนยื่นเอกสารต้องเช็คด้วยว่าทางอำเภอใช้เอกสารอะไรบ้างนะคะ )ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์เท่านั้นนะคะ

ดังนั้นเรื่องการแจ้งการเสียชีวิตของสามีคนญี่ปุ่น ที่ภรรยาจดทะเบียนสมรส 2 ประเทศจึงเป็นเรื่องที่ควรทราบไว้ เพราะกรณีที่ภรรยาที่จะขอรับบำเหน็จบำนาญของสามีที่เสียชีวิต ต้องมีเอกสารรับรองการเสียชีวิตหรือใบมรณะบัติเพื่อยื่นยันด้วยค่ะ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 
02-187-4009
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)




วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

นิสัยคนไทยกับคนญี่ปุ่นที่แตกต่างกัน

ความแตกต่างของสภาพอากาศ ทำให้คนมีพื้นเพนิสัยต่างกัน
คนญี่ปุ่นมักทำอะไรโดยคิดอย่างรอบครอบถึงวันข้างหน้า
             สภาพแวดล้อมที่เติบโตขึ้นมามีผลให้คนในแต่ละประเทศมีนิสัยที่แตกต่างกัน ถึงจะเป็นทวีปเอเชียด้วยกันน แต่ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะอากาศ ที่ญี่ปุ่นมี 4 ฤดู คือฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และ ฤดูหนาว แต่ที่เมืองไทยมีอากาศร้อนตลอดทั้งปี โดยอุณภูมิสูงถึงประมาณ 30 องศา การที่สภาพอากาศแตกต่างกัน มีผลทำให้ลักษณะนิสัยแตกต่างกันด้วย
    ประเทศไทยมีอากาศร้อนตลอดปี ปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง ผลไม้ก็อุดมสมบูรณ์มีรับประทานทั้งปี บ้านก็ไม่จำเป็นต้องสร้างแข็งแรงมาก ไม่มีสถาณการณ์ที่ต้องเสี่ยงต่อความเป็นความตาย ดังนั้นความคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้เอาตัวรอดได้ในวันนี้จึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก
   ส่วนในประเทศญี่ปุ่น มี 4 ฤดูกาล สามารถปลูกข้าวได้ปีละครั้ง พอถึงฤดูหนาวถ้าไม่มีอุปกรณ์ป้องกันความหนาวก็จะใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบากมาก นอกจากนี้ยังมีภัยธรรมชาตินานาชนิดเช่น แผ่นดินไหว
สึนามิ หรือพายุใต้ฝุ่น ถ้าไม่มีมาตรการป้องกันภัยธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ คนญี่ปุ่นจึงมีนิสัยขันแข็ง ตั้งใจทำงาน ทุกครั้งที่เปลี่ยนฤดูกาล คนญี่ปุ่นก็จะมีกำลังใจในการทำงาน นอกจากนี้ในแต่ฤดูกาลก็จะมีงานเทศกาลแตกต่างกันไปด้วย การที่มีฤดูกาลถึง  4 ฤดู ทำให้คนเกิดการตั้งเป้าหมาย เช่น ภายในฤดูกาลนี้จะทำอะไรให้สำเร็จ นอกจากนี้คนญี่ปุ่นจะทำอะไรยังพยายามตั้งใจทำงานโดยคำนึงถึงวันพรุ่งนี้เป็นหลัก
    สรุปแล้วความแตกต่างของคนไทยกับคนญี่ปุ่นก็คือ คนญี่ปุ่นมักจะทำอะไรก็ตามโดยคำนึงถึงวันข้างหน้า แต่คนไทยจะนึกถึงเรื่องตอนนี้
  ที่กล่าวแบบนี้ ไม่ใช่เพื่อถกเถียงว่าความคิดไหนกันแน่ที่ถูก แต่เพื่อที่จะให้ทำความเข้าใจและยอมรับถึงความแตกต่าง และจะได้ปรับตัวเข้าหากัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข
เพราะฉะนั้น ภรรยาคนไทยไม่ควรทึกทักเอาว่าสามีของตนเป็นคนจู้จี้เรื่องมาก แต่ควรหาข้อดีของกันและกันได้ โดยปรับความคิดเสียใหม่ว่าเขาเป็นห่วงคุณและอนาคตข้างหน้าที่จะใช้ด้วยกันต่างหากค่ะ ดังนั้น การใช้ชีวิตคู่ระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกันไว้เพื่อปรับใช้ในชีวิตคู่ของคุณค่ะ

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวที่เรานำเสนอจะมีผลดีต่อชีวิตคู่ของคนไทยกับคนญี่ปุ่นมากขึ้น และทั้ง 2 ฝ่ายเขาอกเข้าใจกันมากขึ้น เพื่อจะได้ใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขค่ะ

หากสนใจปรึกษางานด้านเอกสารสามารถติดต่อเราได้ที่
02-187-4009
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ความรู้เบื้องต้นในการใช้ชีวิตคู่กับคนญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น

         ที่ญี่ปุ่น มีคำศัพท์ที่ว่า ( ryosaikenbo ) หมายความว่าเป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นคุณแม่ที่เฉลียวฉลาดของลูกๆ แต่จู่ๆ ถ้าจะให้คนไทยพยายามทำตัวเป็นภรรยาและคุณแม่ที่สมบูรณ์แบบ ก็คงจะเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เมื่อตกลงคบหาดูใจกับชาวญี่ปุ่นเพื่อแต่งงานกันแล้ว ก็มีสิ่งที่พึงระลึกไว้อยู่เสมอว่า ภรรยาคนไทยเมื่อแต่งงานแล้วต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นก่อนจะเดินทางเข้ามา ควรจะศึกษา และทำความเข้าใจอย่างจริงจังว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างไร และคนญี่ปุ่นเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถึงแม้ว่าสำหรับคนญี่ปุ่นจะถือเป็นเรื่องปกติ แต่ด้วยความที่คนไทยไม่เข้าใจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สามีชาวญี่ปุ่น และคนในครอบครัว เกิดความเข้าใจผิดกันได้

เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการยกเลิกหมั้น หรือการหย่าร้าง ซึ่งบทลงเอยที่น่าเศร้านี้ ขอให้ภรรยาคนไทยที่จะได้เดินทางเข้าประเทศ ให้ศึกษาเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่น และความแตกต่างของไทยและญี่ปุ่นไว้ล่วงหน้า เพราะถ้ายิ่งรู้จักประเทศญี่ปุ่นมากเท่าไหร่ ความรักความเข้าใจของสามีภรรยาก็จะยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ 
ข้อควรระวังกับการคบหากับชายชาวญี่ปุ่น
      
      ปัญหาเรื่อง วัฒนธรรม การใช้ชีวิตที่ต่างกัน

1.    นิสัยที่แตกต่างกัน
ความแตกต่างของสภาพอากาศ ทำให้คนมีนิสัยพื้นเพที่ต่างกัน
คนญี่ปุ่นมักทำอะไร โดยคิดอย่างรอบครอบถึงวันข้างหน้า แต่คนไทยจะคิดถึงเฉพาะเรื่องปัจจุบัน
     
2.    สภาพอากาศ   
สี่ฤดูกาล                                      ประเทศญี่ปุ่นมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
24 ฤดูกาล 72 สภาพอากาศ         ปฏิทินโบราณ สำหรับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
กิจกรรมและเทศกาลในหนึ่งปี        เทศกาลต่างๆตลอดทั้งปี มีลักษณะเฉพาะของฤดูนั้น
การเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เข้ากับฤดูกาล  คนที่ญี่ปุ่นเปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้เข้ากับฤดูกาล
ภูมิภาคกับสภาพอากาศ                ประเทศญี่ปุ่นมีทั้ง 6 ภูมิภาค มีอุณหภูมิแตกต่างกัน
        
3.     การอาบน้ำ
แช่อ่างน้ำร้อน                              คนญี่ปุ่นนิยมอาบน้ำโดยแช่ในอ่างน้ำร้อน
ลำดับในการแช่อ่างอาบน้ำ           คนญี่ปุ่นมักมีลำดับการแช่อ่างน้ำ โดยผู้ที่สูงวัยจะอาบน้ำเป็นคนแรก

4.    ศาสนาและความเชื่อ
มุมมองเรื่องศาสนาของคนญี่ปุ่น    ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นไม่ค่อยมีเรื่องศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
ลัทธิชินโต  และพระพุทธศาสนา     ไหว้พระในเทศกาลปีใหม่ที่ศาลเจ้าชินโต ประกอบพิธีเผาศพที่วัดพุธ
      
5.    อาหารทำทานเองที่บ้าน
เน้นอาหารทำทานเอง ไม่นิยมทานนอกบ้าน   ชาวญี่ปุ่นมักจะซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหารทานกันเองที่บ้าน
รายการอาหารที่สามีชาวญี่ปุ่นชื่นชอบ           อาหารยอดนิยม อันดับ 1 2 3
โรงเรียนสอนทำอาหารญี่ปุ่น                          เริ่มต้นจากการซาวข้าวที่ถูกต้อง
มื้อเช้า กลางวัน เย็น ไม่ทานกับข้าวซ้ำๆ         แม่บ้านญี่ปุ่น จะทำอาหารเมนูแตกต่างกันในแต่ละมื้อ
วัตถุดิบในการปรุงอาหารญี่ปุ่น                      ตัดออกแบ่งขาย ตามวัตถุประสงค์ในการใช้
       
6.    วัฒนธรรมการกิน
เวลาทานอาหารประเภทเส้น ต้องทานให้เสียงดังซู้ด
แร็ป และ ซิปล็อค อุปกรณ์ถนอมอาหาร          เก็บอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด แล้วจะเก็บได้นาน
ตบท้ายด้วยชาหลังอาหาร                             ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มชาไม่ใส่น้ำตาล

7.    เวลา
การรักษาเวลา                                               ก่อนถึงเวลานัด 5 นาที จะต้องไปให้ถึงที่หมาย


ปัญหาเรื่องภาษา ภาษาที่ต่างกัน

คันจิ, คะตะคะนะ ฮิรางานะ                   ภาษาญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
โรงเรียนภาษาญี่ปุ่น                                  สามารถเรียนภาษาไทยกับครูไทยได้แค่ตอนนี้เท่านั้น
หนังสืออ่านเสริม                                       ขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือสำหรับเด็กเล็กดู
ภาษาถิ่น                                                  ให้สามีของคุณพูดกับคุณเป็นภาษากลาง
บทสนทนาทางโทรศัพท์                             บอกความในใจผ่านทางโทรศัพท์ อย่าคุยแต่เรื่องเงินอย่างเดียว 


 ข้อควรระวังในการใช้ชีวิตคู่กับชาวญี่ปุ่น สำหรับสมาชิกหญิงที่กำลังจะเดินทางเข้าประเทศ


เมื่อทำความเข้าใจ ( ❶-❷ สำหรับภรรยาคนไทยที่ยังไม่ได้เดินทางเข้าประเทศ ) ได้อย่างถ่องแท้
ดีแล้ว ทั้งนี้ถ้าไม่สามารถทำความเข้าใจกับปัญหาต่างๆอันได้แก่ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ต่างกัน   และ ภาษาที่ต่างกัน  แล้วก็จะไม่สามารถรับมือกับปัญหาเรื่อง ค่าครองชีพที่ต่างกัน และ ความคิดที่ต่างกัน ในการใช้ชีวิตแต่งงานที่ญี่ปุ่นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย


1.    ปัญหาเรื่อง  ค่าครองชีพ
การโดยสารรถแท็กซี่       การเดินทางโดยรถไฟจะสะดวกสบายและประหยัดกว่ามาก
ค่าโทรศัพท์                    สิ่งนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาที่พบมากที่สุด
สาวใช้                           ครอบครัวทั่วไปในญี่ปุ่นจะไม่มีการจ้างสาวใช้เพื่อช่วยทำงานบ้าน
การพนัน                        ผู้หญิงที่เล่นการพนันมักมีภาพพจน์ที่ไม่ดีในสายตาคนญี่ปุ่น


2.    ปัญหาเรื่อง  ความคิดเห็นที่ต่างกัน

1.    ไม่มีธรรมเนียมเลดี้เฟริ์ส
เวลาคบแบบคู่รัก             ความคิดแบบถอยหลังสามก้าว

2.    งานบ้านทั่วไป
การรับผิดชอบงานบ้าน                                        ผู้ชายไม่เข้าครัว
อาหาร การกิน                                                    ปกติชาวญี่ปุ่นจะทำกับข้าวทุกวัน
การทำความสะอาดบ้าน และ การซักผ้า                เครื่องใช้ไฟฟ้าครบครัน ทำให้งานบ้านเป็นเรื่องง่าย
ผ้าเช็ด                                                               แยกใช้ตามวิธีการใช้

3.    เมื่ออยู่ในบ้าน

ถอดรองเท้าโดยเก็บให้เรียบร้อย                เมื่อถอดรองเท้าแล้ว ต้องจับรองเท้าวางให้เรียบร้อย
เสื้อตาตามิ เบาะรองนั่ง ท่านั่งทับส้นเท้า   ต้องถอดรองเท้าและนั่งทับบนส้นเท้าบนเบาะรองนั่งให้เรียบร้อย
ไม่นั่งไขว่ห้าง                                          โดยเฉพาะต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง  
                                   
4.    การกล่าวทักทาย

การกล่าวทักทายเป็นสิ่งสำคัญมาก            จะไปจะมาต้องพูดกล่าวทักทาย
คำว่าสวัสดีไม่ได้มีคำเดียว         คำว่าสวัสดีภาษาญี่ปุ่นมีมากมายหลายคำ แล้วแต่ เวลา สถานที่และโอกาส
การทักทายหยอกล้อกับเด็ก          คนญี่ปุ่นมักลูกศีรษะเด็กเล็กด้วยความเอ็นดู แต่จะไม่จับแก้ม
คำกล่าวทักทายที่ใช้มากในชีวิตประจำวัน   ตารางตัวอย่างคำที่ใช้บ่อย


5.    การคบหาเพื่อนบ้าน

การทำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน                   มารยาทของชาวญี่ปุ่น
เพื่อนบ้าน คือที่พึ่งในยามยาก                  พยายามเข้ากับเพื่อนบ้านให้ได้


ทิ้งท้าย
            ผู้หญิงญี่ปุ่นเอง เมื่อแต่งงานมีครอบครัวไปแล้ว ก็ต้องเกิดความกังวลใจเป็นธรรมดา ยิ่งเป็นคนต่างชาติอย่างเราๆ การที่ต้องมาอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยชิน ไม่มีทั้งครอบครัวและเพื่อนฝูง ก็ยิ่งลำบากกว่าหลายเท่า  เมื่ออ่านเรื่องราวมาถึงตรงนี้แล้ว การแต่งงานมาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นอาจจะฟังดูเป็นเรื่องลำบาก แต่ต้องเข้าใจว่านี่คือการแต่งงานในฐานะภรรยา ไม่ใช่แค่มาเที่ยวประเดี๋ยวประด๋าว ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้คู่แต่ละคู่ผ่านอะไรด้วยกันมาตั้งมากมาย อย่าพึ่งท้อแท้ ขอเป็นกำลังใจให้ภรรยาคนไทยที่อยู่ที่ญี่ปุ่น และกำลังจะเดินทางไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นสู้ๆกับปัญหา และดีที่สุดให้ปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับคู่ของเรานะคะ จะได้ช่วยกันแก้ไขได้ค่ะ

สามารถปรึกษางานด้านเอกสารกับเราได้ที่
02-187-4009
061-386-7798 (คุณอาร์)
061-402-7789 (คุณปลา)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)