วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การคัดประวัติการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย

            ในบางครั้ง เอกสารประวัติการเดินทางเข้า-ออกไทย ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ประกอบการดำเนินการบางเรื่อง ตัวอย่างเช่น การขอสัญชาติให้บุตร อาจจะต้องคัดไปเป็นหลักฐานประกอบกับการพิจารณาขอสัญชาติให้บุตรด้วย หรือนำไปเป็นเอกสารประกอบในการทำใบขับขี่ญี่ปุ่น เป็นต้น
            ซึ่งการขอคัดประวัติการเดินทางเข้า-ออกไทย สามารถยื่นขอคัดด้วยตัวเองได้ค่ะ โดยสามารถยื่นขอคัดได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สวนพลู เท่านั้น 

เอกสารในการยื่นขอคัดด้วยตนเองมีดังนี้

กรณีคนไทย 
เอกสารที่ต้องใช้ 
- สำเนาหน้าพาสปอร์ต 
- สำเนาบัตรประชาชน 
- ใบคำร้อง (สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลที่ สตม.สวนพลูได้เลยค่ะ) 

กรณีคนต่างชาติ 
เอกสารที่ต้องใช้ 
- ใช้แค่สำเนาหน้าพาสปอร์ตเท่านั้น  

    ถ้าหากไม่สะดวกหรือไม่สามารถไปยื่นขอคัดด้วยตนเองได้ ก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปยื่นขอคัดแทนได้ค่ะ 

ในกรณีมอบอำนาจของคนไทย
เอกสารที่ต้องใช้ 
- ใบมอบอำนาจพร้อมติดแสตมป์อากร 10 บาท และมีพยานลงชื่อ 2 ราย 
- สำเนาพาสปอร์ตของผู้มอบอำนาจ 
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ 
- สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ 

***กรณีที่เจ้าตัวอยู่ต่างประเทศต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ผ่านการรับรองจากกงศุลไทยที่ญี่ปุ่นนะคะ  แต่ถ้าเจ้าตัวอยู่ประเทศไทยสามารถใช้ใบมอบอำนาจทั่วไปได้ค่ะ


***กรณีคนต่างชาติ ไม่สามารถทำการมอบอำนาจได้ ต้องเจ้าตัวไปยื่นขอเท่านั้นค่ะ 

พอไปยื่นขอคัดแล้ว ก็จะใช้ระยะเวลา 3 วันทำการ(ไม่นับวันที่ยื่น แลไม่นับวันหยุดราชการ) เจ้าหน้าที่ก็จะนัดวันที่จะต้องไปรับเอกสารคัดประวัติการเดินทางเข้า-ออกไทย ซึ่งจะไม่มีค่าธรรมเนียมในการคัดนะคะ

หมายเหตุ: ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง

ลูกค้าท่านใดสนใจปรึกษาเรื่องเอกสารสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามกับเราได้ที่ 
02-187-4009 (ออฟฟิศ) 
061-386-7798(คุณอาร์) 
087-687-8719(คุณโอตานิ)

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การขอรับรองเอกสารจากกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)

            สำหรับการขอรับรองเอกสารจากกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นหรือไกมุโชนั้น จะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันค่ะ ได้แก่

    วิธีที่ 1 ผู้ร้องสามารถขอรับรองเอกสารด้วยตนเองที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น โดยมีสำนักงาน 2 แห่ง คือ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงโตเกียว และกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานโอซากา โดยสามารถรับเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้วในวันทำการวันถัดไป 

    เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้อง 

    1. เอกสารที่ต้องการรับรอง (มีอายุไม่เกิน 3 เดือน) 

    2. แบบฟอร์มยื่นคำร้อง (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ https://www.mofa.go.jp/mofaj/files/000023095.pdf หรือขอรับได้ที่ศูนย์บริการ) 

    3. เอกสารแสดงตนของผู้ยื่นคำร้อง เช่น ใบขับขี่ ไซริวการ์ด หนังสือเดินทาง เป็นต้น 4. หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการยื่นเอกสารแทน)


วิธีที่ 2 ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่ศูนย์บริการ และรับเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้วคืนทางไปรษณีย์ (ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันหลังจากยื่นคำร้อง) เอกสารในการยื่นคำร้อง

    1. ต้นฉบับเอกสารที่ต้องการรับรอง (มีอายุไม่เกิน 3 เดือน) 

    2. แบบฟอร์มยื่นคำร้อง (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ https://www.mofa.go.jp/mofaj/files/000023095.pdf หรือขอรับได้ที่ศูนย์บริการ) 

    3. เอกสารแสดงตนของผู้ยื่นคำร้อง เช่น ใบขับขี่ ไซริวการ์ด หนังสือเดินทาง เป็นต้น

    4. ซองเปล่าติดแสตมป์ พร้อมเขียนชื่อที่อยู่ของตัวเองให้ชัดเจนครบถ้วน

    5. หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการยื่นเอกสารแทน)

หมายเหตุ

* ศูนย์บริการรับรองเอกสารที่โตเกียวและโอซากาไม่มีบริการจำหน่ายซองและแสตมป์ กรุณาเตรียมมาให้พร้อมก่อนที่จะยื่นคำร้อง


วิธีที่ 3 ยื่นคำร้องและขอรับเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้วทางไปรษณีย์

ขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องวิธีที่ 3 

1. เตรียมเอกสารที่ต้องการรับรอง (มีอายุไม่เกิน 3 เดือน) 

2. กรอกแบบฟอร์มยื่นคำร้อง (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ https://www.mofa.go.jp/mofaj/files/000023095.pdf

3. แนบซองเปล่าติดแสตมป์ พร้อมเขียนชื่อที่อยู่ของตัวเองให้ชัดเจนครบถ้วน

4. หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการยื่นและรับเอกสารแทน)

5. นำเอกสารทั้งหมดใส่ซองแล้วส่งไปรษณีย์ไปที่ศูนย์บริการรับรองเอกสาร กระทรวงการต่างประเทศ กรุงโตเกียว หรือกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานโอซากา


แต่ในช่วงนี้ เนื่องจากมีสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการเข้าไปติดต่อหน่วยงานสถานที่ราชการ การขอรับรองเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศจึงต้องใช้วิธีที่ 3 ในการขอรับรองเอกสารเป็นหลักค่ะ^^


หมายเหตุ

* ควรเผื่อเวลาประมาณ 10-14 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งคำร้องจนถึงวันที่ได้รับเอกสารทางไปรษณีย์

* ไม่รับคำร้องผ่านไปรษณีย์ระหว่างประเทศ

* ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร ต้องเป็นที่อยู่ภายในประเทศญี่ปุ่น และกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นจะไม่ส่ง เอกสารที่ได้รับการรับรองแล้วไปยังสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศญี่ปุ่น หรือต่างประเทศโดยตรง

* กระทรวงการต่างประเทศจะส่งเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้วไปยังที่อยู่ของผู้ยื่นคำร้องเท่านั้น โดยจะไม่สามารถส่งเอกสารไปยังที่อยู่ของผู้อื่นนอกเหนือจากที่อยู่ของผู้ยื่นคำร้องได้

* ในกรณีที่ยื่นคำร้องผ่านไปรษณีย์ ท่านไม่สามารถมาขอรับเอกสารรับรองได้ที่ศูนย์บริการ

* กรุณาระบุเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถจะติดต่อได้ในช่วงเวลาทำการ เพื่อความสะดวกในการติดต่อของ เจ้าหน้าที่ในกรณีมีข้อซักถามเกี่ยวกับเอกสาร

ข้อควรระวัง

1. การมอบอำนาจ

1.1 กรณีดังต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ

(1) บิดามารดา หรือผู้ปกครอง ยื่นคำร้องแทนบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(2) บริษัทท่องเที่ยว ทนาย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่มายื่นคำร้องตามคำขอของลูกค้า

(3) การรับรองเอกสารในนามของบริษัทหรือหน่วยงาน

2. การยื่นคำร้อง/ขอรับเอกสารคืนทางไปรษณีย์

กรุณาเตรียมซองที่มีขนาดเหมาะสมกับเอกสารรับรอง พร้อมกับเขียนชื่อและที่อยู่ให้เรียบร้อย ถ้าเลือกส่งเอกสารแบบ letter pack (ชนิด Light/Plus) จดหมายลงทะเบียน จะสามารถตรวจสอบสถานะของเอกสารได้ ส่วนวิธีส่งแบบติดแสตมป์ ราคาของแสตมป์จะแตกต่างไปตามซองและน้ำหนักของเอกสาร สามารถอ้างอิงค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ของไปรษณีย์ญี่ปุ่น


โดยการขอรับรองเอกสารสามารถขอรับรองเอกสารได้ 2 ที่ค่ะ ได้แก่

1. กระทรวงต่างประเทศ กรุงโตเกียว

ศูนย์บริการด้านกงสุล แผนกรับรองเอกสาร

ที่อยู่ Certification Section, Center for Consular Services, Consular Affairs Bureau Ministry of Foreign Affairs

South Building 1 F

Kasumigaseki 2-2-1, Chiyoda-ku, Tokyo 100-8919 โทรศัพท์ 03-3580-3311 ต่อ 2308 วันและเวลาทำการ: วันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 9.00-12.30 น. และ 13.30-17.00 น.

2. กระทรวงต่างประเทศ สำนักงานโอซากา

แผนกรับรองเอกสาร ที่อยู่ Certification Section, Osaka Liaison Office, Ministry of Foreign Affairs 4th floor, Osaka National Government Building No.4, 4-1-76 Otemae Chuo-ku, Osaka city, 540-0008 โทรศัพท์ 06-6941-4700 ต่อ 1 วันและเวลาทำการ วันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) เวลา 9.00-12.30 น. และ 13.30-17.00 น.


ลูกค้าท่านใดสนใจปรึกษาเรื่องเอกสารสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามกับเราได้ที่
02-187-4009 (ออฟฟิศ)
061-386-7798(คุณอาร์)
087-687-8719(คุณโอตานิ)

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จูมินเฮียว (Jyuminhyo) คืออะไร

จูมินเฮียว (Jyuminhyo)  คือ ทะเบียนถิ่นที่อยู่ปัจจุบัน

เราเคยได้อธิบายเรื่องการทำบัตรไซริวการ์ด ที่สนามบินให้ได้อ่านมาก่อนนนี้แล้ว และหลังจากที่ทำบัตรไซริวการ์ดเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินเรื่องต่อหลังจากการเข้าาประเทศญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่มีสิทธิพำนักที่ญี่ปุ่นระยาว คือ การแจ้งลงทะเบียนที่อยู่ปัจจุบันในบัตรไซริวการ์ด ซึ่งสามารถไปแจ้งได้ที่ ชิยาขุโจ หรือในเขตพื้นที่ที่คุณจะอาศัยอยู่ ซึ่งต้องไปแจ้งภายใน 14 วันนับจากวันที่คุณเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นนะคะ 
และหลังจากนั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็จะสลักที่อยู่ปัจจุบันของคุณไว้ในบัตรไซริวการ์ด เพื่อให้คุณถือพกติดตัวไว้ตลอดระยะเวลาที่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่น คล้ายๆกับบัตรประชาชนของเราเลยค่ะ

หากคุณต้องการใช้เอกสารใบจูมินเฮียวคุณก็สามารถขอคัดเอกสารมาเก็บไว้ได้เลยนะคะ 

และมีหลายคนเข้าใจผิดระหว่างจูมินเฮียว(ทะเบียนถิ่นที่อยู่) กับโคะเซกิโทฮง(ทะเบียนสำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้านญี่ปุ่น) ซึ่งเอกสาร 2 ชนิดนี้ มีความหมายต่างกันนะคะ จูมินเฮียว คือเอกสารที่แสดงที่อยู่ปัจจุบัน ส่วน  โคะเซกิโทฮงคือเอกสารที่แสดงที่อยู่ภูมิลำเนา และสถาณะภาพบุคคลในครอบครัวค่ะ เช่น การจดทะเบียนสมรส การหย่า การเกิด การตาย  

และอีกข้อแตกต่างหนึ่งของ จูมินเฮียว(ทะเบียนถิ่นที่อยู่) กับโคะเซกิโทฮง (ทะเบียนสำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้านญี่ปุ่น)  คือ จูมินเฮียว คนต่างชาติสามารถที่มีเอกสารนี้เป็นของตนเองได้ ส่วนโคะเซกิโทฮง คนต่างชาติจะไม่มีสิทธิในเอกสารนี้ แต่สามารถมีชื่อใน โคเซกิโทโฮงได้ในฐานะ สามี ภรรยา บุตร และบุตรบุญธรรมเท่านั้น นะคะ 

หลายคนอ่านมาถึงจุดนี้แล้วน่าจะเข้าใจเรื่องของเอกสารที่มีชื่อว่า  จูมินเฮียว(ทะเบียนถิ่นที่อยู่) กับโคะเซกิโทฮง(ทะเบียนสำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้านญี่ปุ่น)  ได้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย ทางเพจนองเราก็จะพยายามนำความรู้ดีดีแบบนี้มาช่วยแนะนำให้กับเพื่อนๆที่ติดตามเพจของเราได้อ่านเพื่อนำเป็นความรู้สำหรับคนใหนที่กำลังจะไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นให้ทราบกันอีกเรื่อยๆนะคะ

หากท่านใดสนใจที่จะได้รับคำปรึกษาด้านเอกสารต่างๆของไทยและญี่ปุ่นก็สามารถติดต่อสอบถามเราเข้ามาได้ที่
02-187-4009
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การแจ้งการเสียชีวิตสามีคนญี่ปุ่น

กรณีใครที่มีสามีคนญี่ปุ่น แล้วสามีเสียชีวิตจะต้องทำเอกสารอะไรบ้าง วันนี้จะอธิบาย 2 หัวข้อด้วยกันดังนี้นะคะ
1. สามีคนญี่ปุ่น เสียชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่น (กรณีจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศ)

หากสามีเสียชีวิตแล้วที่ญี่ปุ่น ต้องมีแจ้งการเสียชีวิตที่อำเภอตามทะเบียนบ้านสามี เรื่องการตาย และหลังจากนั้นภรรยาต้องแจ้งที่เมืองไทยด้วย โดยคัดทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) เรื่องที่ระบุการเสียชีวิตของสามี เพื่อแจ้งการเสียชีวิตที่ไทยให้สามีด้วยเนื่องจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีขั้นตอนการแจ้งตาย คือ

1. สามารถแจ้งได้ที่สถานทูตไทย ณ กรุงโตเกียว หรือโอซาก้า โดยการคัดทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) ตัวจริง โดยผ่านรับรองกระทรวงการต่างประเทศ ไม่เกิน 3 เดือน และแปลเอกสารเป็นภาษาไทย ให้ทางสถานทูตไทย ณ กรุงโตเกียว หรือโอซาก้า  รับรองเอกสารให้ และภรรยาไทยนำเอกสารมาดำเนินเรื่องแจ้งการเสียชีวิตที่อำเภอไทยต่อได้เลย  ก่อนไปที่อำเภอไทยต้องนำเอกสารดังกล่าวรับรองกระทรวงการต่างประเทศให้เรียบร้อยด้วยนะคะ

2. ภรรยาคนไทยมีทะเบียนบ้านสามีคัดเรื่องการเสียชีวิต นำมาดำเนินเรื่องที่เมืองไทย คือต้องไปยื่นทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) ตัวจริงที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ทางสถานทูตจะออกใบรับรองการเสียชีวิต หรือใบมรณบัติเป็นภาษาอังกฤษให้ ให้นำเอกสารมาแปลไทยรับรองกระทรวงการต่างประเทศ และสามารถไปแจ้งที่อำเภอไทยตามทะเบียนบ้านบ้านของภรรยาได้เลยนะคะ

2. สามีคนญี่ปุ่น อาศัยอยู่เมืองไทย เสียชีวิตที่ไทย

หากสามีเสียชีวิตที่เมืองไทย การแจ้งการเสียชีวิตของสามีให้แจ้งที่อำเภอตามทะเบียนบ้านของภรรยา ทางอำเภอจะออกใบมรณบัติให้ และดำเนินเรื่องแจ้งการเสียชีวิตที่ญี่ปุ่น มีขั้นตอนการแจ้งการตายดังนี้
1. นำใบมรณะบัตรของสามีคนญี่ปุ่นที่ออกโดยอำเภไทย ติดต่อสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อ แจ้งการเสียชีวิตของสามีคนญี่ปุ่น  และทางสถานทูตจะดำเนินเรื่องแจ้งไปที่อำเภอตามทะเบียนบ้านญีปุ่นของสามี แต่จะใช้เวลาประมาณ 1เดือนครึ่ง - 2เดือน การดำเนินเรื่องถึงจะเสร็จสมบูรณ์นะคะ

2. หากภรรยามีทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(โคเซกิโทโฮง) ของสามีอยู่แล้ว สามารถติดต่อไปที่อำเภอตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน และสามารถยื่นเอกสารแจ้งการเสียชีวิตได้ที่อำเภอตามทะเบียนบ้านญี่ปุ่นของสามีได้โดยตรง (ก่อนยื่นเอกสารต้องเช็คด้วยว่าทางอำเภอใช้เอกสารอะไรบ้างนะคะ )ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์เท่านั้นนะคะ

ดังนั้นเรื่องการแจ้งการเสียชีวิตของสามีคนญี่ปุ่น ที่ภรรยาจดทะเบียนสมรส 2 ประเทศจึงเป็นเรื่องที่ควรทราบไว้ เพราะกรณีที่ภรรยาที่จะขอรับบำเหน็จบำนาญของสามีที่เสียชีวิต ต้องมีเอกสารรับรองการเสียชีวิตหรือใบมรณะบัติเพื่อยื่นยันด้วยค่ะ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 
02-187-4009
061-386-7798 (คุณอาร์)
087-687-8719 (คุณโอตานิ)